Pink Bobblehead Bunny

ทหาร


อาชีพนี้เกี่ยวกับอะไร


          ทหาร คือ ผู้มีหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของชาติให้คงอยู่ คอยตรวจสอบความสงบเรียบร้อยตามบริเวณชายแดน และป้องปราบชาติอื่น ๆ ไม่ให้รุกราน ทหารเป็นอาชีพที่เสียสละ เพื่อบ้านเมืองให้เกิดความสงบเรียบร้อย ไม่ให้ผู้ใดมารุกรานชาติบ้านเมือง

ลักษณะของงานที่ทำ 
          1. ป้องกันและรักษาอธิปไตยของชาติในทางน้ำ
          2. ป้องกันและรักษาอธิปไตยของชาติในทางบก
          3. ป้องกันและรักษาอธิปไตยของชาติในทางอากาศ
          4. ให้ความร่วมมือสนับสนุนการทหารนานาชาติตามที่ได้รับคำสั่งจากผู้บัญชาการ
          5. อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
         1. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์
         2. มีความอดทน
         3. มีทักษะทางด้านกีฬา เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง
         4. มีความซื่อสัตย์สุจริต
         5. รักความยุติธรรม
         6. มีความเสียสละทั้งแรงกาย แรงใจ
         7. มีความกล้าหาญ
         8. มีความละเอียด รอบคอบ
         9. มีระเบียบวินัย
         10. มีบุคลิกภาพและมีความสูงตามที่กำหนดไว้
         11. รักชาติศาสนา พระมหากษัตริย์
         12. อื่น ๆ

แนวทางพัฒนาอาชีพ
1. ทหารบก
2. ทหารอากาศ
3. ทหารเรือ
4. ทหารรักษาพระองค์
5. อื่น ๆ
แหล่งความรู้เพิ่มเติม
1. โรงเรียนเตรียมทหาร
2. ห้องแนะแนวประจำโรงเรียน
3. ห้องสมุด
4. หนังสือที่เกี่ยวข้องกับอาชีพทหาร
5. เว็บไซต์โรงเรียนเตรียมทหารต่าง ๆ
6. เว็บไซต์ทั่วไป
7. อื่น ๆ
 
 

ความก้าวหน้าในการทำงาน

        การเป็นทหารอาชีพในทศวรรษนี้เป็นเรื่องที่ท้าทาย ทหารอาชีพไม่ใช่ผู้ที่แต่งกายด้วยเครื่องแบบทหารผู้ที่มี เครื่องหมายเต็มหน้าอก การเป็นทหารอาชีพจะต้องมีความอดทน อดกลั้นเป็นอย่างสูงต่อสภาวะแวดล้อมที่กดดัน และเปลี่ยนแปลง มีความยึดมั่นในอุดมการณ์ในการเป็นทหาร จงรักภักดีต่อชาติศาสนา พระมหากษัตริย์และ ประชาชน มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้ความสามารถที่สามารถนำไปใช้ไปปฏิบัติได้จริง มีความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์เสียสละเพื่อส่วนร่วม รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตน 
      การเป็ทหารรับราชการในกรมทหาร มีโอกาสเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งในระดับที่สูงยิ่งขึ้น ตามความสามารถและสายงานที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่อยู่และสามารถศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ
 
 

อัตราเงินเดือน

ผู้ประกอบอาชีพนี้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตามประสบการณ์การทำงานและระดับตำแหน่ง พอมีประสบการณ์มากขึ้น ทำผลงานเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง เงินเดือนก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ นอกจากเงินเดือนแล้วยังได้รับเงินค่าประจำตำแหน่งพิเศษในการปฏิบัติหน้าที่อีกด้วย ทหารกองประจำการ อัตราเงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 12,000 บาท/เดือน และขึ้นตามตำแหน่ง หากได้ตำแหน่งสูงระดับนายทหารสัญญาบัตรยศจอมพล จะได้รับเงินเดือน 78,030 บาท/เดือน

เงินเดือนเฉลี่ย

40,000.00

จักรวรรดิเปอร์เชีย (Persian Empire) คือจักรวรรดิและอาณาจักรต่างในประวัติศาสตร์ของเปอร์เชียที่ปกครองต่อเนื่องกันมาในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน หลังจากการโค่นจักรวรรดิอัสซีเรียด้วยความช่วยเหลือของบาบิโลเนีย

จักรวรรดิเปอร์เชียอคีเมนียะห์ (550–330 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และมารุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าดาไรอัสมหาราช และ พระเจ้าเซอร์ซีสมหาราช  ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นศัตรูคนสำคัญองรัฐกรีกโบราณ บริเวณที่ตั้งเดิมอยู่ในบริเวณที่ในปัจจุบันรู้จักกันว่าจังหวัดพาร์ส (จังหวัดฟาร์ส) ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน

จักรวรรดิเปอร์เชียก่อตั้งภายใต้พระเจ้าไซรัสมหาราชผู้ทรงยึดจักรวรรดิจากชนมีดีส (Medes) และทรงขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกกลางที่รวมทั้งดินแดนของบาบิโลเนียอัสซีเรียฟินิเซีย และ ลิเดีย หลังจากนั้นพระเจ้าแคมไบซีสที่ แห่งเปอร์เชีย  พระราชโอรสในพระเจ้าไซรัสก็ทรงดำเนินนโยบายการขยายดินแดนต่อไปยังอียิปต์ จักรวรรดิอคีเมนียะห์ มาสิ้นสุดลงระหว่างสงครามอเล็กซานเดอร์มหาราช แต่ก็มาฟื้นตัวอีกครั้งในรูปของจักรวรรดิพาร์เธียน และ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ แห่ง อิหร่าน เรียกรวมกันว่า จักรวรรดิเปอร์เชีย” โดยนักประวัติศาสตร์ตะวันตก จักรวรรดิต่างๆ เหล่านี้เกือบทุกจักรวรรดิเป็นจักรวรรดิมหาอำนาจในบริเวณที่ปกครอง และบางจักรวรรดิก็เป็นมหาอำนาจของโลกในสมัยที่รุ่งเรือง

ศาสนาของชาวเปอร์เซีย
ศาสนาดั้งเดิมของชาวเปอร์เซีย เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์และกสิกรรมแบบเรียบง่าย แต่ต่อมาก็มีศาสนาใหม่ ศาสนาโซโรแอสเตอร์เกิดขึ้น ศาสนานี้พัฒนาขึ้นผลงานของชายผู้หนึ่งชื่อว่า ซาราธุสตรา (Zarathustra) หัวใจของศาสนาโซโรแอสเตอร์อยู่ที่หนังสือศักดิ์สิทธิ์หรือพระคัมภีร์
อารยธรรมของชาวเปอร์เซีย
อารยธรรมเปอร์เซีย อยู่ในช่วง 1,000 ปีก่อนคริสตศักราช หลังจากที่อาณาจักรแอสสิเรียได้เสื่อมลง ชาวเปอร์เซียซึ่งเป็นชนชาติอินโดยูโรเปียนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือ
 ได้สร้างอาณาจักรอยู่ทางตอนเหนือเทือกเขาตะวันออก กษัตริย์ราชวงศ์อะเคเมเนียนของเปอร์เซียได้แผ่ขยายอำนาจเข้าปกครองดินแดน ต่างๆ ด้วยความบ้าคลั่ง แต่ในยุคนี้ได้มีพัฒนาการที่ทันสมัยมากขึ้น มีการผลิตเงินเหรียญขึ้นใช้ นอกจากนั้นยังได้มีการดัดแปลงตัวอักษรคูนิฟอร์มเป็นตัวอักษรของเปอร์เซีย จัด ระบบการปกครอง โดยแบ่งเป็นจังหวัด หรือมณฑล เรียกว่า แซแทรปปี (Satrapy) นอกจากในด้านเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรืองแล้ว ชาวเปอร์เซียยังได้สร้างถนนใช้คมนาคมและถือว่าเป็นถนนที่ดีที่สุดในยุค โบราณ และนอกจากนั้นยังมีไปรษณีย์ติดต่อสื่อสารทางราชการอีกด้วย 
สถาปัตยกรรม - สถาปัตยกรรมของชาวเปอร์เซียได้รับอิทธิพลมาจากอียิปต์ และกรีก การก่อสร้างได้นำเอาวัสดุหลายชนิดมาใช้อย่างเหมาะสม เช่น ใช้หินเป็นพื้น ผนังใช้อิฐและนำเอาเสาไม้มาใช้ตกแต่ง ทำโครงเพดาน มีการตกแต่งหัวเสาและแกะเสาเป็นร่องคล้ายของกรีก
ประติมากรรม งานประติมากรรมที่สำคัญของเปอร์เซีย คือ การแกะสลักหัวเสาเป็นรูปสัตว์ต่างๆ มีความสวยงามและประณีตนอกจากนั้นยังรู้จักนำทองแดงและโลหะต่างๆ มาประดับแต่งอย่างวิจิตรพิสดาร  

ประติมากรรมที่นิยมคือแบบนูนต่ำโดยเฉพาะการแกะสลักฐานบันไดกำแพง หรือฝาผนัง เรื่องราวส่วนใหญ่เป็นภาพกษัตริย์ ขุนนาง และข้าทาสบริพารหรือพิธีกรรมต่างๆ ผลงานที่โดดเด่นมักจะเป็นผลงานประเภทประณีตศิลป์ ซึ่งจะนำสัตว์มาดัดแปลงประยุกต์เป็นสิ่งของเครื่องใช้
จิตรกรรม - ผลงานด้านจิตรกรรมของเปอร์เซียมีไม่มากนัก ส่วนมากจะเป็นการนำไปประยุกต์ ใช้กับการตกแต่งผนังภายในงานสถาปัตยกรรม รูปแบบจะมีลักษณะคล้ายกับแอสสิเรีย ศิลปกรรมเปอร์เซียเริ่มเสื่อมลงเมื่อพวกมุสลิมหรืออาหรับเข้ามามีอำนาจ ลักษณะงานศิลปะจึงได้เปลี่ยนแปลงไป


ความก้าวหน้าที่ได้รับแรงดลใจมาจากอิทธิพลของศาสนาอิสลาม สร้างขึ้นโดยชาวมุสลิมเชื้อชาติต่าง ๆ แต่เนื่องจากศาสดามุฮัมมัดผู้ประกาศศาสนาเป็นชาวอาหรับ ดังนั้น กลุ่มอาหรับจึงมีบทบาทสำคัญในการให้กำเนิดอารยธรรมอิสลาม

          คาบสมุทรอาหรับในช่วงระยะที่อารยธรรมอิสลามถือกำเนิดเป็นดินแดน ซึ่งประชากรแบ่งแยกออกเป็น เผ่านักรบหลายเผ่า ต่างก็มีวิถีชีวิตที่อาจแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ พวกที่เร่ร่อนตามทะเลทรายซึ่งเรียกกันว่า พวกเบดูอิน ( Bedouins ) มีอาชีพเลี้ยงสัตว์ จึงต้องเดินทางเร่ร่อนเพื่อแสวงหาทุ่งหญ้าและบ่อน้ำ ทำให้ไม่สามารถหยุดตั้งหลักแหล่งได้ พวกเร่ร่อนบางกลุ่มทำการเกษตร จึงตั้งถิ่นฐานชั่วคราวตามบริเวรโอเอซิส(Oasis) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำในทะเลทราย การดำเนินชีวิตอีกแบบหนึ่งคือพวกตั้งหลักแหล่งในเมืองยึดการค้าเป็นอาชีพ ด้วยเหตุที่เมืองในคาบสมุทรอาหรับสมัยนั้นมักตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าและเป็นเมืองท่าที่จอดพักของกองคาราวาน ชาวเมืองเหล่านี้จึงแสวงหาผลประโยชน์จากการค้าจนมั่งคั่งร่ำรวย เช่น ชาวเมืองมักฮ์ (เมกกะ) เป็นต้น




แม้ว่าอารยธรรมอิสลามจะถือกำเนิดจากชนเผ่าที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในเมืองก็ตาม แต่อิทธิพลของวัฒนธรรมของชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทราย ก็ปรากฏเด่นชัดอยู่ในพัฒนาการของอารยธรรมอิสลาม ทั้งนี้ เพราะความผูกพันกันทางสายเลือดและขนบธรรมเนียมประเพณีของหมู่ชนทั้งสองพวก ด้วยเหตุที่วัฒนธรรมของชนเผ่าเร่ร่อนมีความสำคัญต่อพัฒนาการของอารยธรรมอิสลาม เนื่องจากความแห้งแล้งของทะเลทรายมีอิทธิพลต่อระบบความคิด สังคม ตลอดจนขยบธรรมเนียมประเพรีและวัฒนธรรมของชาวอาหรับ การอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นกิจกรรมในทะเลทรายตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ทำให้ชนเผ่าเร่รอนรักอิสรภาพและยากที่จะปกครองหรือบังคับบัญชา



 ชาวอาหรับรู้จักสร้างขนบธรรมเนียมประเพณีขึ้น และยึดถือราวกับเป็นกฎหมายของตน ขนบธรรมเนียมประเพณีเหล่านี้ ประกอบกับภาษาอาหรับซึ่งแต่ละเผ่าสามารถใช้และเข้าใจกันได้ นับเป็นรากฐานของวัฒนธรรม และความเป็นชาติหนึ่งชาติเดียวกันของชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับ ตัวอย่างขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่าเร่ร่อน เช่น การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในกระโจมเพื่อสะดวกแก่การอพยพ ครอบครัวหนึ่งจะอาศัยอยู่ในกระโจมหนึ่งหลาย ๆ ครอบครัวจะเดินทางเร่ร่อนไปด้วยกันเป็นกลุ่ม สมาชิกทุกคนของกลุ่ม ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือนับญาติกันได้ นับว่าอยู่ในสกุลเดียวกัน มีผู้อาวุโสของสกุลเป็นหัวหน้า สกุลต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือมีความปรารถนาจะรวมกัน ก็สามารถรวมกันเป็นเผ่า มีหัวหน้าเผ่าเป็นผู้ปกครอง ผู้ที่อยู่ในสกุลเดียวกันหรือสังกัดเผ่าใดเผ่าหนึ่ง ย่อมจะได้รับความพิทักษ์ปกป้องอันตรายด้วย

          

          ก่อนเกิดศาสนาอิสลาม ชาวอาหรับนับถือเทพเจ้าหลายองค์ แต่ละเผ่าจะมีเทพจ้าประจำเผ่า มีศาลเทพารักษ์ สำหรับเทพเจ้าของตน เพื่อให้สมาชิกเผ่าเดินทางมานมัสการประจำปี นอกจากเทพเจ้าประจำเผ่าแล้ว แต่ละเผ่าก็ยังนับถือเทพเจ้าอีกมากมายหลายองค์ รวมทั้งยังนับถือธรรมชาติแวดล้อม เช่น น้ำพุ ต้นไม้ และ หิน เป็นต้น เทพเจ้าบางองค์และปูชนียสถานบางแห่งอาจเป็นที่ที่ชมทุกเผ่าในอาหรับนับถือเหมือนกันหมดมิได้ เช่น หินดำทรงกลมใน ปูชนียสถาน กะฮ์บรอที่เมืองเมกกะ เป็นสถานที่ที่ชนเผ่านับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าหลายองค์และพากันเดินทางมานมัสการเป็นประจำปี ในบรรดาเทพจ้าทั้งหลาย ชนเผ่าต่าง ๆ ในอาหรับนับถือพระอัลลอฮ์ เป็นเทพเจ้าสูงสุด เพราะเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ในการทำพิธีบูชาเทพเจ้านั้น ชาวอาหรับมักใช้เลือดบูชายัญ เพราะเชื่อว่าเพื่อสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างเพทเจ้ากับเผ่าของตนโดยทั่วๆ ไป การปฏิบัติศาสนาก็ดูจะเป็นเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีของเผ่ามากกว่า จึงปรากฏอิทธิพลของอารยธรรมต่างๆ ในดินแดนอาหรับ โยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลของคริสต์ศาสนา และศาสนายิว ประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 
     



👶หลักธรรมที่สำคัญของศาสนาอิสลาม

หลักธรรมที่สำคัญของศาสนาอิสลาม ที่สำคัญได้แก่

1. หลักศรัทธา 6 ประการ คำว่าศรัทธาสำหรับชาวมุสลิม หมายถึง ความเชื่อมั่นด้วยจิตใจโดยปราศจากการระแวงสงสัยหรือการโต้แย้งใดๆ หลักศรัทธาในศาสนาอิสลามมี 6 ประการ คือ

          1) ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า ชาวมุสลิมต้องศรัทธาต่อพระอัลลอฮ์แต่เพียงพระองค์เดียว


                  2) ศรัทธาในบรรดามลาอีกะฮฺ ว่ามีจริง คำว่า “มลาอีกะฮฺ” หมายถึง ทูตสวรรค์หรือเทวทูตของพระเจ้า เป็นคนกลางระหว่างพระเจ้ากับศาสดา เป็นวิญญาณที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้


3) ศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอาน



          4) ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต ในคัมภีร์อัลกุรอานกล่าวถึงศาสนทูตว่ามีทั้งหมด 25 ท่าน ท่านแรก คือ นบีอาดัม และท่านสุดท้ายคือ นบีมุฮัมมัด


          5) ศรัทธาในวันพิพากษา มุสลิมต้องเชื่อว่าโลกนี้ไม่จีรัง ต้องมีวันแตกสลายหรือมีวันสิ้นโลก



          6) ศรัทธาในกฎสภาวะ (ลิขิต) ของพระเจ้า ชาวมุสลิมเชื่อว่าพระเจ้าได้ทรงกำหนดกฎอันแน่นอนไว้ 2 ประเภท คือ กฎที่ตายตัว เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทุกสิ่งเป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้า เช่น การถือกำเนิดชาติพันธุ์ รูปร่างหน้าตา ฯลฯ และกฎที่ไม่ตายตัว เป็นกฎที่ดำเนินไปตามเหตุผล เช่นทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ซึ่งพระเจ้าได้ประทานแนวทางชีวิตที่ดีงามพร้อมกับสติปัญญาของมนุษย์ ดังนั้นมุสลิมทุกคนต้องพยายามทำให้ดีที่สุด

2. หลักปฏิบัติ 5 ประการ หลักปฏิบัติ คือ พิธีกรรมเพื่อให้เข้าสู่ความเป็นมุสลิมโดยสมบูรณ์ ซึ่งชาวมุสลิมต้องปฏิบัติศาสนกิจพร้อมทั้ง 3 ทาง คือ กาย วาจา และใจ อันถือเป็นความภักดีตลอดชีวิต หลักปฏิบัติ 5 ประการ มีดังนี้


          1) การปฏิญาณตน ชาวมุสลิมทุกคนต้องปฏิญาณตนยอมรับความเป็นพระเจ้าองค์เดียวของพระอัลลอฮ์และยอมรับในความเป็นศาสนทูตของท่านนบีมุฮัมมัด


          2) การละหมาด การทำละหมาด หมายถึงการนมัสการพระเจ้าทั้งร่างกายและจิตใจวันละ 5 ครั้ง ได้แก่ เวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เวลากลางวัน เวลาบ่าย เวลาพลบค่ำ และเวลากลางคืน การทำละหมาดเริ่มเมื่ออายุได้ 10 ขวบ จนถึงขั้นสิ้นชีวิต ยกเว้นหญิงขณะมีรอบเดือน


          3) การถือศีลอด คือการละเว้น ยับยั้งและควบคุมตน โดยงดการบริโภคอาหาร น้ำดื่ม และร่วมประเวณี ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกดินเป็นเวลา 1 เดือน ในเดือนรอมฎอน (เดือน 9 ทางจันทรคติของอิสลาม) การถือศีลอดเป็นหน้าที่ของชาวมุสลิมทุกคนที่อายุครบ 15 ปี เป็นต้นไป แต่ผ่อนผันในกรณีหญิงขณะมีรอบเดือนและหลังคลอด บุคคลในระหว่างเดินทาง หญิงมีครรภ์ แม่ลูกอ่อน บุคคลที่มีสุขภาพไม่ปกติ มีโรคภัย คนชรา และบุคคลที่ทำงานหนัก


          4) การบริจาคซะกาต หมายถึง การบริจาคทรัพย์เพื่อขัดเกลาจิตใจของผู้บริจาคให้สะอาดบริสุทธิ์ลดความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ให้มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่


          5) การประกอบพิธีฮัจญ์ หมายถึง การเดินทางไปประกอบศาสนกิจหรือจาริกแสวงบุญ ณ วิหารอัลกะฮ์ และสถานที่ต่างๆ ในนครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยให้ปฏิบัติเฉพาะบุคคลที่มีความสามารถเท่านั้น

👶การเผยแพร่และ่ายทอดอารยธรรมอิสลาม

          อิสลามนับได้ว่าเป็นศาสนาที่สร้างอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียมากที่สุดที่เราสามารถกล่าวได้อย่างนี้ก็เพราะว่าหากเราย้อนหลังไปพันปีกว่าซึ่งเป็นยุคที่อาณาจักรอิสลามกำลังเฟื้องฟูมีราชวงศ์ต่างๆขึ้นมาปกครองหลายราชวงศ์ ตั้งแต่รับอิสลามแห่งแรกที่นครมาดีนะห์ในสมัยของท่านนบีมูฮำหมัด, สมัยคูลาฟาอฺ-อัรรอซีดูนของคอลีฟะห์ทั้ง 4 , สมัยของการปกครองของราชวงค์อูมัยยะห์ที่ดามัสกัส(ซีเรีย ค.ศ 661- ค.ศ.750) , ยุคการปกครองของราชวงค์อับบาซียะห์ที่แบกแดด(อีรัก ค.ศ 750-1258), ยุคการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะห์แห่งอันดะลุส(สเปน ค.ศ 712-ค.ศ 1236) และมาปิดท้ายที่ราชวงศ์อุสมานียะห์(ออตโตมาน)ที่ตุรกีที่เพิ่งล่มสลายไปเมื่อไม่ถึงร้อยปีที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งเมืองต่างๆที่ได้เคยเป็นจุดศูนย์กลางของการปกครองที่ได้กล่าวมานั้นก็ล้วนเป็นจุดศูนย์กลางของอารยธรรมอิสลามไปในตัวโดยอัตโนมัติด้วย


ในภาพคือพิธีการต้อนรับทูตในกรุงดามัสกัสของอาณาจักรอุมัยยะห์แห่งซีเรีย การเผยแพร่ศาสนา อารยธรรม และศิลปะวิทยาการต่างๆของอิสลามได้รับการเผยแพร่ทางการทูตและการค้าที่มีต่อรัฐหรืออาณาจักรอื่นๆในทวีปเอเชีย

          จากผลพวงของการปกครองที่หลากหลายบวกกับระยะเวลาการปกครองอันยาวนานหลายร้อยปีของแต่ละราชวงศ์ แน่นอนว่าแต่ละราชวงค์มีเวลามากพอในการสร้างอารยธรรมขึ้นมามากมายในสมัยการปกครองของตัวเองไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของศาสนา สังคม ระบบการปกครอง ภาษา การศึกษา การเกษตรกรรม วิทยาศาสตร์ การแพทย์ งานแปลตำรำวรรณกรรม ตรรกวิทยา ดาราศาสตร์ เป็นต้น โดนเฉพาะด้านสถาปัตกรรม วิศวะกรรมศาสตร์และศิลปกรรมต่างๆที่เห็นว่าหน้าจะเป็นการพัฒนาที่รวดเร็วและเด่นที่สุดในบรรดาศาสตร์ทั้งหลายของโลกในยุคนั้นซึ่งยังคงหลงเหลือร่องรอยให้เห็นกันจนถึงทุกวันนี้ โดยที่อารยธรรมดังกล่าวได้แทรกซึมและเผยแพร่ไปยังดินแดนต่างๆของทวีปเอเชียทั้งในแถบชมพูทวีป(เอเชียใต้)จีน เอเชียกลาง มองโกล และอาเซียน อย่างรวดเร็วตามพัฒนาการติดต่อทางการทูตระหว่างรัฐ ความเจริญก้าวหน้าด้านการค้า และการเผยแพร่ศาสนา โดยเฉพาะการเผยแพร่ตามเส้นทางสายไหม(Silk Road) ที่ถือเป็นเส้นเลือดสำคัญของการติดต่อสื่อสารระหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตกนับตั้งแต่อาณาจักรไบเซนไตน์จนถึงกรุงปักกิ่งของจักรวรรดิจีนโดยมีเส้นทางพาดผ่านอาณาจักรอิสลามยุคก่อนอย่างเมืองแบกแดดของอับบาซียะห์และดามัสกัสแห่งอุมัยยะห์แห่งซีเรีย เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้แพร่ขยายผ่านทางการบุกเบิกแผ่ขยายอาณาจักรและการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานไปตั้งรกรากอยู่ในดินแดนอื่นๆของชาวอาหรับอีกด้วย



อารยธรรมโลก ตอน อารยธรรมอิสลาม






ป็นแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกของอินเดีย อยู่บริเวณดินแดนภาคตะวันตกของอินเดีย (ปากีสถานในปัจจุบัน) ที่แม่น้ำสินธุไหลผ่าน อาณาเขตลุ่มแม่น้ำสินธุครอบคลุมบริเวณกว้างกว่าลุ่มแม่น้ำไนล์แห่งอิยิปต์ โดยทุกๆปีกระแสน้ำได้ไหลท่วมท้นฝั่งทำให้ดินแดนลุ่มน้ำสินธุอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำกสิกรรม นักประวัติศาสตร์บางคนเรียกอารยธรรมในดินแดนนี้ว่า วัฒนธรรมฮารัปปา (Harappa Culture) ซึ่งเป็นชื่อเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำสินธุเมื่อประมาณ 3,500 – 1,000 ปี ก่อนพุทธศักราช



            จากภูมิประเทศของอินเดียที่มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ มีเทือกเขาหิมาลัยกั้นอยู่ทางตอนเหนือ มีเทือกเขาฮินดูกูชอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ทางด้านตะวันตกติดกับทะเลอาหรับ ส่วนทางตะวันออกติดกับมหาสมุทรอินเดียไปจนถึงอ่าวเบงกอล ดังนั้น ผู้ที่เดินทางบกเข้ามายังบริเวณนี้ในสมัยโบราณต้องผ่านช่องเขาทางด้านตะวันตกที่เรียกว่า ช่องเขาไคเบอร์ ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะเข้าสู่อินเดียในสมัยโบราณ ช่องเขานี้เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์อินเดียตลอดมา เพราะเส้นทางนี้เป็นทางผ่านของกองทัพของผู้รุกรานและพ่อค้าจากเอเชียกลาง อัฟกานิสถานเข้าสู่อินเดีย เพราะเดินทางได้สะดวก

👳การตั้งถิ่นฐานและเผ่าพันธุ์

1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ

       1.1 เมืองโมเฮนโจ – ดาโร ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน

       1.2 เมืองฮารับปา ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน





รูปปั้นที่ค้นพบที่ค้นพบในสมัยก่อนประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเป็นชนชั้นสูงหรือนักบวช

2. สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ โดยชนเผ่าอินโด-อารยัน ซึ่งตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำคงคา แบ่งได้ 3 ยุค

       2.1 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่กำเนิดตัวอักษรพรามิ ลิปิ สิ้นสุดสมัยราชวงศ์ คุปตะ เป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธศาสนา ได้ถือกำเนิดแล้ว

       2.2 ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์คุปตะสิ้นสุดลง จนถึง ราชวงศ์โมกุลเข้าปกครองอินเดีย

       2.3 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์โมกุลจนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ

          หลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีเมืองใหญ่ 2 เมือง คือ เมืองฮารัปปา (Harappa) และเมือง
โมเฮนโจ – ดาโร (Mohenjo – Daro) หลักฐานดังกล่าวทำให้ทราบว่าบริเวณลุ่มน้ำสินธุมีผู้คนตั้งถิ่นฐานและสร้างสรรค์อารยธรรมมายาวนาน คือ พวกดราวิเดียนสิ่งที่เด่นที่สุดของอารยธรรมแม่น้ำสินธุ ตัวเมืองที่มีการวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบ แยกพื้นที่ใช้กันงานออกจากกันอย่างชัดเจน เช่น เขตที่อยู่อาศัย ศาสนสถาน ยุ้งฉาง มีการตัดถนนเป็นมุมฉากและแบ่งเมืองออกเป็นตาราง แสดงความรู้ด้านเรขาคณิตขั้นสูงสิ่งที่โดดเด่นกว่าอารยธรรมอื่นๆ คือ มีการจัดระบบสุขาภิบาลที่ดี เป็นระบบ จากรูปแบบการก่อสร้างแสดงให้เห็นว่ามีการปกครองแบบรวมอำนาจ  ซึ่งผู้ปกครองอาจเป็นนักบวชหรือกษัตริย์ที่เป็นผู้นำศาสนาด้วย



ลักษณะซากเมืองโบราณฮารัปปา

👳ชนเผ่าสำคัญที่สร้างสรรค์อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ

       
       1) พวกดราวิเดียน คือชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มน้ำสินธุราว 4,000 ปีมาแล้ว พวกนี้
มีรูปร่างเตี้ย ผิวคล้ำและจมูกแบน คล้ายกับคนทางตอนใต้ในอินเดียบางพวกปัจจุบัน

       2) พวกอารยัน เป็นพวกที่อพยพเคลื่อนย้ายจากดินแดนเอเชียกลาง ลงมายังตอนใต้กระจายไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่างๆซึ่งอุดมสมบูรณ์และมีภูมิอากาศที่อบอุ่นกว่า พวกอารยันส่วนหนึ่งได้เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มน้ำสินธุและขับไล่พวกดราวิเดียนให้ถอยร่นไปหรือจับตัวเป็นทาส พวกอารยันมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว จมูกโด่ง คล้ายกับชาวอินเดียที่อยู่ทางตอนเหนือ พวกอารยันเหล่านี้รับวัฒนธรรมชนพื้นเมือง แล้วนำมาผสมผสานเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ


👳อารยธรรมอินเดีย

          อารยธรรมอินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอายุเก่าแก่ไม่แพ้อารยธรรมแหล่งอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

          1. สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ( ประมาณ 2,500-1,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ) ถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม “กึ่งก่อนประวัติศาสตร์” เพราะมีการค้นพบหลักฐานจารึกเป็นตัวอักษรโบราณแล้วแต่ยังไม่มีผู้ใดอ่านออก และไม่แน่ใจว่าเป็นตัวอักษรหรือภาษาเขียนจริงหรือไม่

          ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองโมเฮนโจ – ดาโร และเมืองฮารัปปา ริมฝั่งแม่น้ำสินธุประเทศปากีสถานในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเดิม ที่เรียกว่า “ทราวิฑ” หรือพวกดราวิเดียน ( Dravidian )
          2. สมัยพระเวท ( ประมาณ 1,500-600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นอารยธรรมของชนเผ่าอินโด-อารยัน (Indo-Aryan ) ซึ่ง อพยพมาจากเอเชียกลาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคาโดยขับไล่ชนพื้น เมืองทราวิฑให้ถอยร่นลงไปทางตอนใต้ของอินเดีย

          สมัยพระเวทแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ หลักฐานที่ทำให้ทราบเรื่องราวของยุคสมัยนี้ คือ “คัมภีร์พระเวท” ซึ่งเป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ นอกจากนี้ยังมีบทประพันธ์มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่อีก 2 เรื่อง คือ มหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ บางทีจึงเรียกว่าเป็นยุคมหากาพย์

          3. สมัยพุทธกาล หรือสมัยก่อนราชวงศ์เมารยะ ( Maurya ) ประมาณ 600-300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นช่วงที่อินเดียถือกำเนิดศาสนาที่สำคัญ 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธและศาสนาเชน
          4. สมัยจักรวรรดิเมารยะ ( Maurya ) ประมาณ 321-184 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าจันทรคุปต์ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เมารยะได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพู ทวีปให้เป็นปึกแผ่นภายใต้จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกของอินเดีย
          5. สมัยราชวงศ์เมารยะ พระพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์ให้เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ( Asoka ) ได้ เผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนทั้งใกล้และไกล รวมทั้งดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเผยแพร่เข้าสู่แผ่นดินไทยในยุคสมัยที่ยังเป็นอาณาจักรทวารวดี
        6. สมัยราชวงศ์กุษาณะ ( ประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ.320 )พวกกุษาณะ (Kushana )เป็น ชนต่างชาติที่เข้ามารุกรานและตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้ากนิษกะ รัชสมัยของพระองค์อินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการแพทย์
            นอกจากนั้น ยังทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ( นิกายมหายาน ) ให้เจริญรุ่งเรือง โดยจัดส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระศาสนายังจีนและทิเบต มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีศิลปะงดงาม และสร้างเจดีย์ใหญ่ที่เมืองเปชะวาร์

        7. สมัยจักรวรรดิคุปตะ ( Gupta ) ประมาณ ค.ศ.320-550 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ต้นราชวงศ์คุปตะได้ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอินเดีย มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง การปกครอง ปรัชญาและศาสนา ตลอดจนการค้าขายกับต่างประเทศ
        8. สมัยหลังราชวงศ์คุปตะ หรือยุคกลางของอินเดีย ( ค.ศ.550 – 1206 ) เป็นยุคที่จักรวรรดิแตกแยกเป็นแคว้นหรืออาณาจักรจำนวนมาก ต่างมีราชวงศ์แยกปกครองกันเอง

        9. สมัยสุลต่านแห่งเดลฮี หรืออาณาจักรเดลฮี ( ค.ศ. 1206-1526 ) เป็นยุคที่พวกมุสลิมเข้ามาปกครองอินเดีย มีสุลต่านเป็นผู้ปกครองที่เมืองเดลฮี

        10. สมัยจักรวรรดิโมกุล ( Mughul ) ประมาณ ค.ศ. 1526 – 1858 พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุลได้รวบรวมอินเดียให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นจักรวรรดิอิสลามและเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย โดยอินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ. 1858กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้าอักบาร์มหาราช ( Akbar ) ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน และในสมัยของชาห์ เจฮัน ( Shah Jahan ) ทรงสร้าง “ทัชมาฮัล” ( Taj Mahal ) ซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานศิลปะอินเดีย

ทัชมาฮาล
👳การปกครองและกฎหมาย

          
บ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำสินธุ มีร่องรอยของการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าศูนย์กลาง ทั้งนี้เห็นได้จากรูปแบบการสร้างเมืองอารัปปาและ เมืองเฮนโจ-ดาโรที่มีการวางผังเมืองในลักษณะเดียวกันมีการตัดถนนเป็นระเบียการสร้างบ้านใช้อิฐขนาดเดียวกันตัวเมืองมักอยู่ใกล้ป้อม ซึ่งต้องมีผู้นำที่มีอำนาจแบบรวมศูนย์ ผู้นำมีสถานภาพเป็นทั้งกษัตริย์และเป็นนักบวชมีทั้งอำนาจทางโลกและทางธรรมต่อมาเมื่อพวกอารยันเข้ามาปกครองดินแดนลุ่มน้ำสินธุแทนพวกดราวิเดียนจึงได้เปลี่ยนแปลง การปกครองเป็นแบบ กระจายอำนาจโดยแต่ละเผ่ามีหัวหน้าที่เรียกว่า ราชา ปกครองกันเอง มีหน่วยการปกครองลดหลั่นลงไปตามอันดับจากครอบครัวที่มีบิดาเป็นหัว หน้าครอบ ครัว หลายครอบครัวรวมกันเป็นระดับหมู่บ้าน และหลายหมู่บ้านมีราชาเป็นหัวหน้า ต่อมาแต่ละเผ่ามีการพุ่งรบกันเอง ทำให้ราชาได้ขึ้นมามีอำนาจสูงสุดในการปกครองด้วยวิธีต่างๆ 
          ราชาที่มีชื่อเสียงเช่น พระเจ้าอโศกมหราชแห่งราชวงศ์เมารยะทรงมีอำนาจเหนืออินเดียเกือบทั้งหมดยกเว้นตอนใต้สุดต่อมาพระองค์หัน มานับถือพระพุทธศาสนาและสร้างพุทธสถานซึ่งแสดงศรัทธาในพระพุทธศาสนาเช่นสถูปที่เมืองต่างๆและยึดหลักการ ปกครองตางหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เน้นความเมตตากรุณา

👳ด้านสังคมและวัฒนธรรม
          วัฒธรรมอินเดีย

          อินเดีย เป็นสังคมที่มีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยมีศาสนา วรรณะ และภาษา เป็นปัจจัยหลักกำหนดรูปแบบสังคมและการเมือง อินเดียมีภาษาราชการกว่า 22 ภาษา ซึ่งฮินดีเป็นภาษาประจำชาติที่ใช้กันมากที่สุด และใช้ภาษาอังกฤษในวงราชการและธุรกิจ แม้ว่าประชากรกว่าร้อยละ 82นับถือศาสนาฮินดู แต่มีประชากรที่นับถือศาสนามุสลิม (13.4%) ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของ โลก รองจากอินโดนีเซีย และปากีสถาน อีกทั้งยังมีผู้นับถือศาสนาอื่น เช่น คริสเตียน ซิกข์ พุทธ และเชน การจัดลำดับชั้นทางสังคมและอาชีพในอินเดียเป็นการสะท้อนอิทธิพลของระบบวรรณะ

        1. ระบบวรรณะ

            ตั้งแต่สมัยโบราณวรรณะที่สำคัญมี 4 วรรณะ คือ
  • วรรณะพราหมณ์ ได้แก่ นักบวช ปัจจุบันอาจตีความไปถึงนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์และนักการเมือง
  •  วรรณะกษัตริย์ ได้แก่ นักรบ ซึ่งอาจรวมไปถึงข้าราชการ
  • วรรณะแพศย์ ได้แก่ พ่อค้า นักธุรกิจ
  • วรรณะศูทร ได้แก่ ผู้ใช้แรงงาน ชาวนา กรรมกร และคนยากจน ซึ่งสามวรรณะแรกเป็นชนชั้นผู้ปกครอง วรรณะสุดท้ายเป็นผู้ถูกปกครองแม้ว่าวรรณะเหล่านี้เป็นที่เข้าใจทั่วไปใน อินเดีย แต่ยังมีการแบ่งวรรณะต่ำสุดในในสังคมฮินดู เรียกกันว่าเป็นกลุ่มคนอันมิพึงแตะต้อง คือ จัณฑาล หรือเรียกชื่อใหม่ว่า ดาลิต มีความหมายว่า อันเป็นที่รักของพระเจ้า ซึ่งเป็นชนชั้นที่ถูกเลือกปฏิบัติ ได้รับโอกาสทางสังคมและอาชีพน้อยที่สุด ใน สังคม 
              การปฏิรูปเศรษฐกิจและกฎหมายของอินเดียในปัจจุบันได้พยายามลดช่องว่างของ สังคมและการกีดกันทางวรรณะเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา และอาชีพให้เท่าเทียมกันในสังคม เช่นมีโควตาพิเศษสำหรับนักศึกษาดาลิตในการเข้ามหาวิทยาลัยโดยไม่ต้องสอบแข่ง ขัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกด้านวรรณะยังคงฝังรากลึกอยู่ในจิตใจ ซึ่งสะท้อนออกมาในด้านความคิด วัฒนธรรมและการบริหาร


            2. ปรัชญาและลัทธิศาสนาของสังคมอินเดีย

              มีผู้เข้าใจว่า “ปรัชญาอินเดีย” หมายถึงปรัชญาฮินดู ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหรือไม่ตรงกับความเป็นจริง ความหมายที่ถูกต้องของคำว่า “ปรัชญาอินเดีย” ก็คือ หมายถึงปรัชญาทุกสำนักหรือทุกระบบที่เกิดขึ้นในอินเดีย หรือที่คิดสร้างสรรค์ขึ้นไว้โดยศาสดาและนักคิดที่เคยมีชีวิตอยู่หรือกำลังมีชีวิตอยู่ในอินเดีย เพราะฉะนั้นปรัชญาอินเดียจึงไม่ได้หมายถึงเฉพาะแต่ปรัชญาฮินดู แต่หมายรวมถึงปรัชญาอื่นที่ไม่ใช่ปรัชญาฮินดูด้วย เช่นพุทธปรัชญา ปรัชญาเชน เป็นต้น

              ปรัชญาอินเดียมีวิธีการเป็นแบบฉบับของตนเอง คือก่อนที่จะเสนอแนวความคิดของตนเองขึ้นมานักปรัชญาหรือนักคิดอินเดียจะเสนอแนวความคิดของนักปรัชญาคนอื่นหรือระบบอื่นเสียก่อน

    แนวความคิดของนักปรัชญาคนอื่นหรือระบบอื่นที่เสนอก่อนนี้เรียกว่า ปูรวปักษ์ เมื่อเสนอแนวความคิดของคนอื่นขึ้นมาแล้ว ต่อจากนั้น นักปรัชญาคนนั้นก็จะวิพากษ์วิจารณ์โจมตีว่า แนวความคิดเช่นนั้นมีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องอย่างไร มีความหมายสมควรแก่การยอมรับเชื่อถือหรือไม่ การวิพากษ์วิจารณ์โจมตีนี้ เรียกว่า ขัณฑนะ เมื่อได้ยกทรรศนะของคนอื่นขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์โจมตีชี้ให้เห็นข้อบกพร่องแล้วนักปรัชญาคนนั้นจึงเสนอแนวความคิดทางปรัชญาของตน พร้อมกับพยายามอธิบายให้เห็นว่า ทรรศนะของตนนั้นปราศจากข้อบกพร่องและเป็นทรรศนะที่ถูกต้องอย่างไรบ้าง ทรรศนะของตนเองที่เสนอขึ้นมาทีหลังนี้เรียกว่า อุตตรปักษ์

              ด้วยเหตุที่วิธีการแห่งปรัชญาอินเดียมีลักษณะดังกล่าวมานี้ จึงปรากฏว่าในบันทึกแนวความคิดทางปรัชญาระบบต่างๆของอินเดีย นอกจากจะมีแนวความคิดของตนเองโดยเฉพาะแล้ว ยังมีคำวิพากษ์วิจารณ์โจมตีแนวความคิดของระบบอื่นๆ ปรากฏรวมอยู่ด้วยเสมอ

            3. เทพเจ้าของอินเดีย

                ในบรรดาเรื่องราวของเทพเจ้าของชนชาติทั้งหลายนั้น เทพเจ้าของอินเดียนับว่ามีเรื่องราวและประวัติความเป็นมาที่ซับซ้อนมากกว่า ชาติอื่น และกล่าวกันว่า ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ชนชาติอริยกะ หรืออินเดียอิหร่านที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำสินธุ มีการนับถือเทพเจ้าและมีคัมภีร์พระเวทเกิดขึ้น พวกอริยกะ หรืออารยันนั้น แต่เดิมก็นับถือธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ท้องฟ้า ลม และไฟ ต่อมามีการกำหนดให้ปวงเทพเกิดมีหน้าที่กันขึ้น โดยตั้งชื่อตามสิ่งที่เป็นธรรมชาตินั้นๆ แล้วก็เกิดมีหัวหน้าเทพเจ้าขึ้น ดังที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท ซึ่งก็คือพระอินทร์ จากหลักฐานโบราณที่เป็นจารึกบนแผ่นดินเหนียวอายุราว 1,400 ปี ก่อนคริสตกาล เรียกว่าแผ่นจารึก โบกาซ คุย หรือจารึก เทเรีย ซึ่งขุดพบที่ตำบลดังกล่าว ของดินแดนแคปปาโดเซีย ในตุรกี จารึกนี้ ได้ออกนามเทพเจ้าเป็นพยานถึง 4 องค์ นั่นก็คือ พระอินทร์ (lndra) เทพเจ้าแห่งพลัง มิทระ (Mitra) พระวรุณ (Varuna)และ นาสัตย์ (Nasatya) คือ พระนาสัตย์อัศวิน (Asvins) นับเป็นชื่อเทพเจ้าที่เก่าที่สุดที่ถูกเอ่ยนาม แสดงว่าลัทธิพราหมณ์ มีมายาวนานยิ่งนัก สมัยของพระเวท จึงมีผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า มีมาก่อนพุทธกาลราว 1,000 ปีและบางตำราบอกว่า เทพเจ้าดั้งเดิมของพวกอริยกะนั้นมีพระอินทร์ พระสาวิตรี พระวรุณ และพระยม (พระสาวิตรี คือ ดวงอาทิตย์) ส่วนอีกตำราหนึ่งกล่าวว่า เทพเจ้าที่เก่าที่สุด คือ พระอินทร์ พระพฤหัสบดี พระวรุณ และพระยม เทพที่พราหมณ์ยกย่องนั้น มีเพียงไม่กี่องค์ที่ปรากฏอยู่ในพระเวท ซึ่งก็คือพระอินทร์ ที่ถือว่ามีฤทธิ์อำนาจมาก


              วัฒนธรรมการทอผ้ามัดหมี่และผ้ายกของอินเดีย

              ผ้าอินเดียแบบดั้งเดิม พิมพ์โดยใช้สีสด ซึ่งมีความเชื่อว่า สิ่งทอสีสดและหลากหลายสีเป็น เอกลักษณ์เดิมของชาวอินเดีย และนิยมผ้าทอจากกี่ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องใช้ต่าง ๆ ใน ชีวิตประจำวันและโอกาสพิเศษล้วนแต่ทอด้วยมือโดยใช้กี่ การทอผ้าด้วยมือของอินเดียจะมี ลักษณะแตกต่างกันในแต่ละรัฐ ซึ่งจะใช้ผ้าคลุมไหล่ของท้องถิ่นเพื่อแสดงถึงความแตกต่างของ เอกลักษณ์ในสังคมของตน ในวันสำคัญทางศาสนาต่าง ๆ จะมีวิธีการแต่งตัวและสีสันของเสื้อผ้า แตกต่างกัน โดยเฉพาะความยาวและวิธีการแต่งสาหรี่ ซึ่งเป็นชุดประจำชาติของผู้หญิงอินเดีย

    • ผ้าคาดี เป็นผ้าฝ้ายดิบ เนื้อหยาบ เป็นศิลปหัตถกรรมอันเก่าแก่ มีความสำคัญทาง การเมืองด้วย
    • ผ้าปาโตลา เป็นผ้ามัดหมี่ของรัฐกุจารัฐ ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของกรรมวิธีในการ ทอผ้ามัดหมี่ ผ้าสาหรี่ ปาโตลาได้รับการสงวนไว้ใช้ในชุดแต่งงานของเจ้าสาว มีลักษณะเป็นสีสด เช่น สีแดง สีเขียว และสีคราม ออกแบบด้วยรูปเรขาคณิต ดอกไม้ นกและสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้ง ศิลปะการร่ายรำ
    • ผ้าเทเลีย รูมัล (telia rumal) เป็นผ้ามัดหมี่ใช้นุ่งพันท่อนล่างของร่างกายและบางครั้งใช้ โพกศีรษะ ปัจจุบันกำลังจะสูญหายไป รัฐบาลอินเดียและหน่วยงานต่าง ๆ พยายามร่วมมือกัน เพื่อจะ รื้อ ฟื้นกรรมวิธีและรูปแบบการทอผ้าชนิดนี้
    • ผ้าจัมดานี (ผ้ามัสลิน) เป็นผ้าทอยกดอกที่มีรูปภาพและลวดลายที่งดงามที่สุดที่นิยม จะเป็นลายดอกไม้และใบไม้ แต่ที่สะดุดตาที่สุดของผ้าสาหรีจัมดานี คือลายโคเนีย เป็นลายดอก มะม่วงบนชายผ้า
    • ผ้าสาหรี่ เป็นผ้าที่สวยงามและมีราคาแพงจะทอยกดิ้น ทองหรือเงิน ผ้าดอกจากเมือง พาราณสีในอินเดียทางเหนือ เป็นตัวอย่างสำคัญของการทอผ้าของอินเดีย ผ้าสาหรี่เป็นวิธีการ นุ่งผ้าเฉพาะผู้หญิง ความยาวของผ้าประมาณ 6 หลา มีสีสันและลวดลายต่าง ๆ การวางลายของ ผ้าสาหรี่มีกรองลายที่แน่นอน โดยรอบผืนผ้าทั้งสี่ด้าน มีการทำลายที่แตกต่างจากลายตรงกลาง ผืนผ้า ด้านที่เป็นชายผ้ามีการขยายลายให้เห็นชัดว่าเป็นชายผ้า 
              การนุ่งผ้าสาหรี่จะนุ่งพันรอบตัวหนึ่งรอบ แล้วนำผ้ามาพับจีบด้านหน้าบางส่วนแล้วจึง นำผ้าที่เหลือมาพันโอบไปด้านหลัง จากนั้น นำชายผ้าที่เหลือมาตวัดคลุมไหล่ ให้เหลือผ้าทิ้งชาย ลงไปทางด้านหลัง
    • ผ้าโรตี (Dhoti) เป็นวิธีการนุ่งผ้าทั้งชายและหญิงชาวอินเดีย
    • ผ้าโรตีของผู้ชาย มีความยาว 6 หลา เป็นผ้าพันสีนวล หรือสีขาว
    • ผ้าโรตีของผู้หญิง มีความยาว 9 หลา เป็นผ้าที่มีสีสันลวดลายต่าง ๆ

              การนุ่งผ้าโรตี จะพับจีบด้านหน้าจากชายผ้าทั้งซ้ายและขวาและนำมาทบเหน็บทางด้าน ลำตัว แล้วจึงเอาผ้าที่เหลืออีกด้านไปเหน็บไว้ด้านหลัง ผู้ชายชาวอินเดียจะนุ่งโรตีทั่วไป แต่ผู้หญิงที่นุ่งโรตีมักจะอยู่ทางอินเดียใต้ ชายผ้าโรตีของ ผู้หญิงจะไม่เหน็บเก็บหมด แต่จะเหลือชายผ้าด้านหนึ่งไว้คลุมไหล่

              การแต่งกาย

              ชาวอินเดียโบราณ จะแต่งตัวคล้ายของไทยสมัยเชียงแสน ต่อมาสตรีนิยมสวมเสื้อแขนยาว แบบชาวจีน แต่ตัวสั้น เห็นหน้าท้อง นุ่งกางเกงขาลีบช้างใน ใช้ผ้าบาง ๆ เช่น ฝ้ายลินิน มัสลิน อย่างดีห่มอีกชิ้น ถ้าเป็นชาวพื้น เมืองจะนุ่งสาหรี่ หรือกระโปรงจีบดอกสีแดง หรือนุ่งกางเกงขาว ขายาว ส่วนชายนุ่งผ้าขาวใส่เสื้อแขนยาว ไว้หนวดเครา โพกผ้า




    👳ด้านศาสนา 

              อินเดียเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกตะวันออก ได้แก่
    1. ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีเทพเจ้าที่สำคัญ เช่น พระศิวะ เป็นเทพผู้ทำลายความชั่วร้าย พระพรหม เป็นเทพเจ้าผู้สร้างสรรพสิ่งบนโลก พระวิษณุ เป็นเทพเจ้าแห่งสันติสุขและปราบปรามความยุ่งยาก เป็นต้น



    2. พระพุทธศาสนา มีหลักคำสอนที่สำคัญ เช่น อริยสัจ 4 มีจุดหมายเพื่อมุ่งสู่นิพพาน



    3. ศาสนาเชน มีศาสดา คือ มหาวีระ มีนิกายที่สำคัญอยู่ 2 นิกาย คือ นิกายเศวตัมพร เป็นนิกายนุ่งผ้าขาว ถือว่าสีขาวเป็นสีบริสุทธิ์ และนิกายทิฆัมพร เป็นนิกายนุ่งลมห่มฟ้า (เปลือยกาย)




    มหาวีระ ศาสดาศาสนาเชน

    4. ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาที่ก่อตั้งขึ้นมาโดย พระศาสดา ศรี คุรุ นานัก เดว ยิ ในปี พ.ศ. 2012 (ค.ศ. 1469) โดยหลักธรรมและคำสอนพื้นฐานของศาสนาซิกข์ขึ้นมา เป็นศาสนาที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความจริงและเน้นความเรียบง่าย สอนให้ทุกคนยึดมั่นและศรัทธาในพระเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียว


    พระศาสดา ศรี คุรุ นานัก เดว ยิ



    👳ด้านเศรษฐกิจ

              คนในดินแดนลุ่มน้ำสินธุมีการทำอาชีพเกษตรเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและมีการทำการค้าภายใน การเพิ่มประชากรในแต่ละอาณาจักร ทำให้การค้าภายในเมืองต่างๆขยายตัวขึ้น ซึ่งมีสินค้าสำคัญ เช่น ดีบุก ทองแดง หินมีค่าชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีสินค้าอุตสาหกรรม เช่น การทอผ้า ฝ้าย ไหม เป็นสินค้าไปขายในดินแดนต่างๆ อาทิ อาระเบีย เปอร์เซีย และอิยิปต์ เป็นต้น

              เมื่อชาวอารยันมีอำนาจมั่นคง จึงได้สร้างบ้านอยู่เป็นหมู่บ้าน มีการปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์พันธุ์ต่างๆมากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ชาวอารยันยังมีอาชีพเป็นช่างต่างๆ เช่น ช่างทองแดง ช่างเหล็ก ช่างปั้นหม้อ ช่างปะชุน เย็บผ้า เป็นต้น การที่ชาวอารยันดำเนินการค้าขายทั้งทางบกและทางทะเลอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีเศรษฐกิจดีพอที่จะสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์อารยธรรมในด้านอื่นๆ

    👳ด้านภาษาและวรรณกรรม

              ในดินแดนลุ่มน้ำสินธุยังพบวัฒนธรรมด้านภาษา คือ ตัวอักษรโบราณของอินเดีย ซึ่งเป็นอักษรดั้งเดิมที่ยังไม่มีนักวิชาการอ่านออก อักษรโบราณนี้ปรากฏในดวงตราต่างๆมากกว่า 1,200 ชิ้น โดยในดวงตราจะมีภาพวัว ควาย เสือ จระเข้ และช้าง ปรากฏอยู่ด้วย


              พวกอารยันใช้ภาษาสันสกฤตซึ่งเป็นภาษาที่ใช้เขียนคัมภีร์ศาสนา เช่น คัมภีร์พระเวท เมื่อประมาณ 1,000 ปีมาแล้ว วรรณกรรมทื่สำคัญได้แก่ มหากาพย์มหาภารตยุทธ ซึ่งเป็นเรื่องการสู้รบในหมู่พวกอารยันและมหากาพย์รามเกียรติ์ เป็นเรื่องการสู้รบระหว่างพวกดราวิเดียนกับพวกอารยัน

    👳มรดกของอารยธรรมอินเดีย

    1. ด้านสถาปัตยกรรม

       🌟 ซากเมืองฮารับปาและโมเฮนโจ – ดาโร ทำให้เห็นว่ามีการวางผังเมืองอย่างดี มีสาธารณูปโภคอำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น ถนน บ่อน้ำ ประปา ซึ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม


       🌟 ซากพระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรและตักศิลา สถูปและเสาแปดเหลี่ยม ที่สำคัญคือ สถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ)

       🌟 สุสานทัชมาฮาล สร้างด้วยหินอ่อน เป็นการผสมระหว่างศิลปะอินเดียและเปอร์เชีย


    2. ด้านประติมากรรม เช่น



    พระพุทธรูปแบบคันธาระ



    พระพุทธรูปแบบมถุรา



    พระพุทธรูปแบบอมราวดี

    ฯลฯ

    3. จิตรกรรม

              สมัยคุปตะ และหลังสมัยคุปตะ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอินเดียพบงานจิตรกรรมที่ ผนังถ้ำอชันตะ เป็น ภาพเขียนในพระพุทธศาสนาแสดงถึงชาดกต่างๆ ที่งดงามมาก ความสามารถในการวาดเส้นและการอาศัยเงามืดบริเวณขอบภาพ ทำให้ภาพแลดูเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกสมจริง


    4. นาฏศิลป์

              เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าตามคัมภีร์พระเวท


    ศิวนาฏราช



    👳การแพร่ขยายและการถ่ายทอดอารยธรรมอินเดีย

             อารยธรรมอินเดียแพร่ขยายออกไปสู่ภูมิภาคต่างๆทั่วทวีปเอเชียโดยผ่านทางการค้าศาสนาการเมืองการทหารและได้ผสมผสานเข้ากับอารยธรรมของแต่ละประเทศจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมสังคมนั้นๆ
             ในเอเชียตะวันออกพระพุทธศาสนามหายานของอินเดียมีอิทธิพลอย่างลึกซึ่งค่อชาวจีนทั้งในฐานะศาสนาสำคัญและในฐานะที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะของจีน


              ภูมิภาคเอเชียกลางอารยธรรมอินเดียที่ถ่ายทอคให้เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 เมื่อพวกมุสลิมอาหรับซึ่งมีอำนาจในตะวันออกกลางน้ำวิทยาการหลายอย่างของอินเดียไปใช้ ได้แก่ การแพทย์คณิตศาสตร์ดาราศาสตร์เป็นต้นขณะเดียวกันอินเดียก็รับอารยธรรมบางอย่างทั้งของเปอร์เซียและกรีกโดยเฉพาะด้านศิลปกรรมประติมากรรมเช่นพระพุทธรูปศิลปะคันธาระซึ่งเป็นอิทธิพลจากกีกส่วนอิทธิพลของเปอร์เซียปรากฏในรูปการปกครองสถาปัตยกรรมเช่นพระราชวังการเจาะภูเขาเป็นเพื่อสร้างศาสนสถาน
              ภูมิภาคที่ปรากฏอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียมากที่สุดคือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พ่อค้าพราหมณ์และภิกษุสงฆ์ชาวอินเดียเดินทางมาและนอารยธรรมมาแยแพร่-อารยธรรมที่ปรากฏอยู่มีแทบทุกด้านโดยเฉพาะในด้านศาสนาความเชื่อการปกครองศาสนาพราหมณ์ฮินดูและพุทธได้หล่อหลอมจนกลายเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้


    👳ลักษณะภูมิประเทศของอินเดียที่แบ่งอย่างคร่าวๆได้เป็นสามภาคคือ 

              1) เขตเทือกเขาหิมาลัยและบริเวณใกล้เคียงเทือกเขาหิมาลัยเป็นเทือกเขาใหญ่ที่สูงที่สุดในโลกและเป็นที่รู้จักกันดีเทือกเขานี้ยาวถึง 1, 500 ไมล์ติดกับเขตแผนของประเทศปที่สถานทางทิศตะวันออกติดกับประเทศทิเบตและแม่น้ำพรหมบุตรในอัสสัมมีช่องเขาที่ใช้เป็นเส้นทางคาราวานทำการค้าในสมัยโบราณเดินทางติดต่อระหว่างแคว้นปัญจาบในอินเดียกับมณฑลซินเที่ยงในจีนและพิเบต 
              2) เขตลุ่มแม่น้ำสายใหญ่ๆอินเดียมีแม่น้ำสายสำคัญทามภาคเหนืออยู่สามสายเรียจากตะวันตกไปหาตะวันออกคือแม่น้ำสินธุแม่น้ำคงคาและแม่น้ำพรหมบุตรแม่น้ำทั้งสามนี้รับน้ำที่ได้จากลมมรสุมมาปะทะเทือกเขาหิมาลัยและรับน้ำที่เป็นพิมะละลายในฤดูร้อนจากเทือกเขาที่ลัย          ลุ่มแม่น้ำสินธและลุ่มแม่น้ำคงคาเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญของอินเดียมาตั้งแต่สมัยโบราเมสำหรับแม่น้ำสินธุนั้นชื่อของแม่น้ำสินธุได้กลายเป็นชื่อของประเทศอินเดียไปเลยทีเดียวดินแดนลุ่มแม่น้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งลุ่มแม่น้ำสินธและลุ่มแม่น้ำคงคาเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศและเป็นบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด 


              3) เขตที่ราบสูงทางตอนได้เขตที่ราบสูงทางตอนได้คือบริเวณที่เป็นคาบสมุทรของอินเดียมีเทือกเขาสามเทือกเป็นผนังกั้นทำให้ที่ราบนี้มีลักษณะเป็นที่ราบสูงบริเวณนี้ได้แก่แคว้นมัธยประเทศมัทราฐบอมเบย์ไฮเคราบัดไมซอร์และแคว้นเล็กน้อยอื่นๆบริเวณเขตที่ราบสูงทางตอนได้นี้มีชื่อเรียกว่าที่ราบสูงเกตน (The Deccan Plateau)


              ทางตอนเหนือของที่ราบสูงเคตข่านมีเทือกเขาวินธัย (Windhiyan) ซึ่งเป็นแนวเทือกเขาแล่นจากทิศตะวันออกมาทิศตะวันตกเทือกเขาวินธัยในสมัยโบราณเป็นเครื่องกีดขวางทางคมนาคมและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศอินเดียแบ่งแยกเป็นภูมิภาคไม่รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

    พาเที่ยวอินเดีย