ป็นแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกของอินเดีย อยู่บริเวณดินแดนภาคตะวันตกของอินเดีย (ปากีสถานในปัจจุบัน) ที่แม่น้ำสินธุไหลผ่าน อาณาเขตลุ่มแม่น้ำสินธุครอบคลุมบริเวณกว้างกว่าลุ่มแม่น้ำไนล์แห่งอิยิปต์ โดยทุกๆปีกระแสน้ำได้ไหลท่วมท้นฝั่งทำให้ดินแดนลุ่มน้ำสินธุอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำกสิกรรม นักประวัติศาสตร์บางคนเรียกอารยธรรมในดินแดนนี้ว่า วัฒนธรรมฮารัปปา (Harappa Culture) ซึ่งเป็นชื่อเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำสินธุเมื่อประมาณ 3,500 – 1,000 ปี ก่อนพุทธศักราช
จากภูมิประเทศของอินเดียที่มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ มีเทือกเขาหิมาลัยกั้นอยู่ทางตอนเหนือ มีเทือกเขาฮินดูกูชอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ทางด้านตะวันตกติดกับทะเลอาหรับ ส่วนทางตะวันออกติดกับมหาสมุทรอินเดียไปจนถึงอ่าวเบงกอล ดังนั้น ผู้ที่เดินทางบกเข้ามายังบริเวณนี้ในสมัยโบราณต้องผ่านช่องเขาทางด้านตะวันตกที่เรียกว่า ช่องเขาไคเบอร์ ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะเข้าสู่อินเดียในสมัยโบราณ ช่องเขานี้เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์อินเดียตลอดมา เพราะเส้นทางนี้เป็นทางผ่านของกองทัพของผู้รุกรานและพ่อค้าจากเอเชียกลาง อัฟกานิสถานเข้าสู่อินเดีย เพราะเดินทางได้สะดวก
👳การตั้งถิ่นฐานและเผ่าพันธุ์
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ
1.1 เมืองโมเฮนโจ – ดาโร ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน
1.2 เมืองฮารับปา ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน
2. สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ โดยชนเผ่าอินโด-อารยัน ซึ่งตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำคงคา แบ่งได้ 3 ยุค
2.1 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่กำเนิดตัวอักษรพรามิ ลิปิ สิ้นสุดสมัยราชวงศ์ คุปตะ เป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธศาสนา ได้ถือกำเนิดแล้ว
2.2 ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์คุปตะสิ้นสุดลง จนถึง ราชวงศ์โมกุลเข้าปกครองอินเดีย
2.3 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์โมกุลจนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ
หลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีเมืองใหญ่ 2 เมือง คือ เมืองฮารัปปา (Harappa) และเมือง
โมเฮนโจ – ดาโร (Mohenjo – Daro) หลักฐานดังกล่าวทำให้ทราบว่าบริเวณลุ่มน้ำสินธุมีผู้คนตั้งถิ่นฐานและสร้างสรรค์อารยธรรมมายาวนาน คือ พวกดราวิเดียนสิ่งที่เด่นที่สุดของอารยธรรมแม่น้ำสินธุ ตัวเมืองที่มีการวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบ แยกพื้นที่ใช้กันงานออกจากกันอย่างชัดเจน เช่น เขตที่อยู่อาศัย ศาสนสถาน ยุ้งฉาง มีการตัดถนนเป็นมุมฉากและแบ่งเมืองออกเป็นตาราง แสดงความรู้ด้านเรขาคณิตขั้นสูงสิ่งที่โดดเด่นกว่าอารยธรรมอื่นๆ คือ มีการจัดระบบสุขาภิบาลที่ดี เป็นระบบ จากรูปแบบการก่อสร้างแสดงให้เห็นว่ามีการปกครองแบบรวมอำนาจ ซึ่งผู้ปกครองอาจเป็นนักบวชหรือกษัตริย์ที่เป็นผู้นำศาสนาด้วย
โมเฮนโจ – ดาโร (Mohenjo – Daro) หลักฐานดังกล่าวทำให้ทราบว่าบริเวณลุ่มน้ำสินธุมีผู้คนตั้งถิ่นฐานและสร้างสรรค์อารยธรรมมายาวนาน คือ พวกดราวิเดียนสิ่งที่เด่นที่สุดของอารยธรรมแม่น้ำสินธุ ตัวเมืองที่มีการวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบ แยกพื้นที่ใช้กันงานออกจากกันอย่างชัดเจน เช่น เขตที่อยู่อาศัย ศาสนสถาน ยุ้งฉาง มีการตัดถนนเป็นมุมฉากและแบ่งเมืองออกเป็นตาราง แสดงความรู้ด้านเรขาคณิตขั้นสูงสิ่งที่โดดเด่นกว่าอารยธรรมอื่นๆ คือ มีการจัดระบบสุขาภิบาลที่ดี เป็นระบบ จากรูปแบบการก่อสร้างแสดงให้เห็นว่ามีการปกครองแบบรวมอำนาจ ซึ่งผู้ปกครองอาจเป็นนักบวชหรือกษัตริย์ที่เป็นผู้นำศาสนาด้วย
ลักษณะซากเมืองโบราณฮารัปปา
👳ชนเผ่าสำคัญที่สร้างสรรค์อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ
1) พวกดราวิเดียน คือชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มน้ำสินธุราว 4,000 ปีมาแล้ว พวกนี้
มีรูปร่างเตี้ย ผิวคล้ำและจมูกแบน คล้ายกับคนทางตอนใต้ในอินเดียบางพวกปัจจุบัน
2) พวกอารยัน เป็นพวกที่อพยพเคลื่อนย้ายจากดินแดนเอเชียกลาง ลงมายังตอนใต้กระจายไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่างๆซึ่งอุดมสมบูรณ์และมีภูมิอากาศที่อบอุ่นกว่า พวกอารยันส่วนหนึ่งได้เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มน้ำสินธุและขับไล่พวกดราวิเดียนให้ถอยร่นไปหรือจับตัวเป็นทาส พวกอารยันมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว จมูกโด่ง คล้ายกับชาวอินเดียที่อยู่ทางตอนเหนือ พวกอารยันเหล่านี้รับวัฒนธรรมชนพื้นเมือง แล้วนำมาผสมผสานเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ
👳อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอายุเก่าแก่ไม่แพ้อารยธรรมแหล่งอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ( ประมาณ 2,500-1,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ) ถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม “กึ่งก่อนประวัติศาสตร์” เพราะมีการค้นพบหลักฐานจารึกเป็นตัวอักษรโบราณแล้วแต่ยังไม่มีผู้ใดอ่านออก และไม่แน่ใจว่าเป็นตัวอักษรหรือภาษาเขียนจริงหรือไม่
บ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำสินธุ มีร่องรอยของการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าศูนย์กลาง ทั้งนี้เห็นได้จากรูปแบบการสร้างเมืองอารัปปาและ เมืองเฮนโจ-ดาโรที่มีการวางผังเมืองในลักษณะเดียวกันมีการตัดถนนเป็นระเบียการสร้างบ้านใช้อิฐขนาดเดียวกันตัวเมืองมักอยู่ใกล้ป้อม ซึ่งต้องมีผู้นำที่มีอำนาจแบบรวมศูนย์ ผู้นำมีสถานภาพเป็นทั้งกษัตริย์และเป็นนักบวชมีทั้งอำนาจทางโลกและทางธรรมต่อมาเมื่อพวกอารยันเข้ามาปกครองดินแดนลุ่มน้ำสินธุแทนพวกดราวิเดียนจึงได้เปลี่ยนแปลง การปกครองเป็นแบบ กระจายอำนาจโดยแต่ละเผ่ามีหัวหน้าที่เรียกว่า ราชา ปกครองกันเอง มีหน่วยการปกครองลดหลั่นลงไปตามอันดับจากครอบครัวที่มีบิดาเป็นหัว หน้าครอบ ครัว หลายครอบครัวรวมกันเป็นระดับหมู่บ้าน และหลายหมู่บ้านมีราชาเป็นหัวหน้า ต่อมาแต่ละเผ่ามีการพุ่งรบกันเอง ทำให้ราชาได้ขึ้นมามีอำนาจสูงสุดในการปกครองด้วยวิธีต่างๆ
ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองโมเฮนโจ – ดาโร และเมืองฮารัปปา ริมฝั่งแม่น้ำสินธุประเทศปากีสถานในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเดิม ที่เรียกว่า “ทราวิฑ” หรือพวกดราวิเดียน ( Dravidian )
2. สมัยพระเวท ( ประมาณ 1,500-600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นอารยธรรมของชนเผ่าอินโด-อารยัน (Indo-Aryan ) ซึ่ง อพยพมาจากเอเชียกลาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคาโดยขับไล่ชนพื้น เมืองทราวิฑให้ถอยร่นลงไปทางตอนใต้ของอินเดีย
สมัยพระเวทแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ หลักฐานที่ทำให้ทราบเรื่องราวของยุคสมัยนี้ คือ “คัมภีร์พระเวท” ซึ่งเป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ นอกจากนี้ยังมีบทประพันธ์มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่อีก 2 เรื่อง คือ มหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ บางทีจึงเรียกว่าเป็นยุคมหากาพย์
3. สมัยพุทธกาล หรือสมัยก่อนราชวงศ์เมารยะ ( Maurya ) ประมาณ 600-300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นช่วงที่อินเดียถือกำเนิดศาสนาที่สำคัญ 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธและศาสนาเชน
4. สมัยจักรวรรดิเมารยะ ( Maurya ) ประมาณ 321-184 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าจันทรคุปต์ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เมารยะได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพู ทวีปให้เป็นปึกแผ่นภายใต้จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกของอินเดีย
5. สมัยราชวงศ์เมารยะ พระพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์ให้เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ( Asoka ) ได้ เผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนทั้งใกล้และไกล รวมทั้งดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเผยแพร่เข้าสู่แผ่นดินไทยในยุคสมัยที่ยังเป็นอาณาจักรทวารวดี
6. สมัยราชวงศ์กุษาณะ ( ประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ.320 )พวกกุษาณะ (Kushana )เป็น ชนต่างชาติที่เข้ามารุกรานและตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้ากนิษกะ รัชสมัยของพระองค์อินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการแพทย์
นอกจากนั้น ยังทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ( นิกายมหายาน ) ให้เจริญรุ่งเรือง โดยจัดส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระศาสนายังจีนและทิเบต มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีศิลปะงดงาม และสร้างเจดีย์ใหญ่ที่เมืองเปชะวาร์
7. สมัยจักรวรรดิคุปตะ ( Gupta ) ประมาณ ค.ศ.320-550 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ต้นราชวงศ์คุปตะได้ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอินเดีย มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง การปกครอง ปรัชญาและศาสนา ตลอดจนการค้าขายกับต่างประเทศ
8. สมัยหลังราชวงศ์คุปตะ หรือยุคกลางของอินเดีย ( ค.ศ.550 – 1206 ) เป็นยุคที่จักรวรรดิแตกแยกเป็นแคว้นหรืออาณาจักรจำนวนมาก ต่างมีราชวงศ์แยกปกครองกันเอง
9. สมัยสุลต่านแห่งเดลฮี หรืออาณาจักรเดลฮี ( ค.ศ. 1206-1526 ) เป็นยุคที่พวกมุสลิมเข้ามาปกครองอินเดีย มีสุลต่านเป็นผู้ปกครองที่เมืองเดลฮี
10. สมัยจักรวรรดิโมกุล ( Mughul ) ประมาณ ค.ศ. 1526 – 1858 พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุลได้รวบรวมอินเดียให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นจักรวรรดิอิสลามและเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย โดยอินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ. 1858กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้าอักบาร์มหาราช ( Akbar ) ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน และในสมัยของชาห์ เจฮัน ( Shah Jahan ) ทรงสร้าง “ทัชมาฮัล” ( Taj Mahal ) ซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานศิลปะอินเดีย
👳การปกครองและกฎหมาย
บ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำสินธุ มีร่องรอยของการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าศูนย์กลาง ทั้งนี้เห็นได้จากรูปแบบการสร้างเมืองอารัปปาและ เมืองเฮนโจ-ดาโรที่มีการวางผังเมืองในลักษณะเดียวกันมีการตัดถนนเป็นระเบียการสร้างบ้านใช้อิฐขนาดเดียวกันตัวเมืองมักอยู่ใกล้ป้อม ซึ่งต้องมีผู้นำที่มีอำนาจแบบรวมศูนย์ ผู้นำมีสถานภาพเป็นทั้งกษัตริย์และเป็นนักบวชมีทั้งอำนาจทางโลกและทางธรรมต่อมาเมื่อพวกอารยันเข้ามาปกครองดินแดนลุ่มน้ำสินธุแทนพวกดราวิเดียนจึงได้เปลี่ยนแปลง การปกครองเป็นแบบ กระจายอำนาจโดยแต่ละเผ่ามีหัวหน้าที่เรียกว่า ราชา ปกครองกันเอง มีหน่วยการปกครองลดหลั่นลงไปตามอันดับจากครอบครัวที่มีบิดาเป็นหัว หน้าครอบ ครัว หลายครอบครัวรวมกันเป็นระดับหมู่บ้าน และหลายหมู่บ้านมีราชาเป็นหัวหน้า ต่อมาแต่ละเผ่ามีการพุ่งรบกันเอง ทำให้ราชาได้ขึ้นมามีอำนาจสูงสุดในการปกครองด้วยวิธีต่างๆ
ราชาที่มีชื่อเสียงเช่น พระเจ้าอโศกมหราชแห่งราชวงศ์เมารยะทรงมีอำนาจเหนืออินเดียเกือบทั้งหมดยกเว้นตอนใต้สุดต่อมาพระองค์หัน มานับถือพระพุทธศาสนาและสร้างพุทธสถานซึ่งแสดงศรัทธาในพระพุทธศาสนาเช่นสถูปที่เมืองต่างๆและยึดหลักการ ปกครองตางหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เน้นความเมตตากรุณา
👳ด้านสังคมและวัฒนธรรม
วัฒธรรมอินเดีย
อินเดีย เป็นสังคมที่มีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยมีศาสนา วรรณะ และภาษา เป็นปัจจัยหลักกำหนดรูปแบบสังคมและการเมือง อินเดียมีภาษาราชการกว่า 22 ภาษา ซึ่งฮินดีเป็นภาษาประจำชาติที่ใช้กันมากที่สุด และใช้ภาษาอังกฤษในวงราชการและธุรกิจ แม้ว่าประชากรกว่าร้อยละ 82นับถือศาสนาฮินดู แต่มีประชากรที่นับถือศาสนามุสลิม (13.4%) ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของ โลก รองจากอินโดนีเซีย และปากีสถาน อีกทั้งยังมีผู้นับถือศาสนาอื่น เช่น คริสเตียน ซิกข์ พุทธ และเชน การจัดลำดับชั้นทางสังคมและอาชีพในอินเดียเป็นการสะท้อนอิทธิพลของระบบวรรณะ
1. ระบบวรรณะ
ตั้งแต่สมัยโบราณวรรณะที่สำคัญมี 4 วรรณะ คือ
- วรรณะพราหมณ์ ได้แก่ นักบวช ปัจจุบันอาจตีความไปถึงนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์และนักการเมือง
- วรรณะกษัตริย์ ได้แก่ นักรบ ซึ่งอาจรวมไปถึงข้าราชการ
- วรรณะแพศย์ ได้แก่ พ่อค้า นักธุรกิจ
- วรรณะศูทร ได้แก่ ผู้ใช้แรงงาน ชาวนา กรรมกร และคนยากจน ซึ่งสามวรรณะแรกเป็นชนชั้นผู้ปกครอง วรรณะสุดท้ายเป็นผู้ถูกปกครองแม้ว่าวรรณะเหล่านี้เป็นที่เข้าใจทั่วไปใน อินเดีย แต่ยังมีการแบ่งวรรณะต่ำสุดในในสังคมฮินดู เรียกกันว่าเป็นกลุ่มคนอันมิพึงแตะต้อง คือ จัณฑาล หรือเรียกชื่อใหม่ว่า ดาลิต มีความหมายว่า อันเป็นที่รักของพระเจ้า ซึ่งเป็นชนชั้นที่ถูกเลือกปฏิบัติ ได้รับโอกาสทางสังคมและอาชีพน้อยที่สุด ใน สังคม
การปฏิรูปเศรษฐกิจและกฎหมายของอินเดียในปัจจุบันได้พยายามลดช่องว่างของ สังคมและการกีดกันทางวรรณะเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา และอาชีพให้เท่าเทียมกันในสังคม เช่นมีโควตาพิเศษสำหรับนักศึกษาดาลิตในการเข้ามหาวิทยาลัยโดยไม่ต้องสอบแข่ง ขัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกด้านวรรณะยังคงฝังรากลึกอยู่ในจิตใจ ซึ่งสะท้อนออกมาในด้านความคิด วัฒนธรรมและการบริหาร
2. ปรัชญาและลัทธิศาสนาของสังคมอินเดีย
มีผู้เข้าใจว่า “ปรัชญาอินเดีย” หมายถึงปรัชญาฮินดู ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหรือไม่ตรงกับความเป็นจริง ความหมายที่ถูกต้องของคำว่า “ปรัชญาอินเดีย” ก็คือ หมายถึงปรัชญาทุกสำนักหรือทุกระบบที่เกิดขึ้นในอินเดีย หรือที่คิดสร้างสรรค์ขึ้นไว้โดยศาสดาและนักคิดที่เคยมีชีวิตอยู่หรือกำลังมีชีวิตอยู่ในอินเดีย เพราะฉะนั้นปรัชญาอินเดียจึงไม่ได้หมายถึงเฉพาะแต่ปรัชญาฮินดู แต่หมายรวมถึงปรัชญาอื่นที่ไม่ใช่ปรัชญาฮินดูด้วย เช่นพุทธปรัชญา ปรัชญาเชน เป็นต้น
ปรัชญาอินเดียมีวิธีการเป็นแบบฉบับของตนเอง คือก่อนที่จะเสนอแนวความคิดของตนเองขึ้นมานักปรัชญาหรือนักคิดอินเดียจะเสนอแนวความคิดของนักปรัชญาคนอื่นหรือระบบอื่นเสียก่อน
แนวความคิดของนักปรัชญาคนอื่นหรือระบบอื่นที่เสนอก่อนนี้เรียกว่า ปูรวปักษ์ เมื่อเสนอแนวความคิดของคนอื่นขึ้นมาแล้ว ต่อจากนั้น นักปรัชญาคนนั้นก็จะวิพากษ์วิจารณ์โจมตีว่า แนวความคิดเช่นนั้นมีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องอย่างไร มีความหมายสมควรแก่การยอมรับเชื่อถือหรือไม่ การวิพากษ์วิจารณ์โจมตีนี้ เรียกว่า ขัณฑนะ เมื่อได้ยกทรรศนะของคนอื่นขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์โจมตีชี้ให้เห็นข้อบกพร่องแล้วนักปรัชญาคนนั้นจึงเสนอแนวความคิดทางปรัชญาของตน พร้อมกับพยายามอธิบายให้เห็นว่า ทรรศนะของตนนั้นปราศจากข้อบกพร่องและเป็นทรรศนะที่ถูกต้องอย่างไรบ้าง ทรรศนะของตนเองที่เสนอขึ้นมาทีหลังนี้เรียกว่า อุตตรปักษ์
ด้วยเหตุที่วิธีการแห่งปรัชญาอินเดียมีลักษณะดังกล่าวมานี้ จึงปรากฏว่าในบันทึกแนวความคิดทางปรัชญาระบบต่างๆของอินเดีย นอกจากจะมีแนวความคิดของตนเองโดยเฉพาะแล้ว ยังมีคำวิพากษ์วิจารณ์โจมตีแนวความคิดของระบบอื่นๆ ปรากฏรวมอยู่ด้วยเสมอ
3. เทพเจ้าของอินเดีย
ในบรรดาเรื่องราวของเทพเจ้าของชนชาติทั้งหลายนั้น เทพเจ้าของอินเดียนับว่ามีเรื่องราวและประวัติความเป็นมาที่ซับซ้อนมากกว่า ชาติอื่น และกล่าวกันว่า ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ชนชาติอริยกะ หรืออินเดียอิหร่านที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำสินธุ มีการนับถือเทพเจ้าและมีคัมภีร์พระเวทเกิดขึ้น พวกอริยกะ หรืออารยันนั้น แต่เดิมก็นับถือธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ท้องฟ้า ลม และไฟ ต่อมามีการกำหนดให้ปวงเทพเกิดมีหน้าที่กันขึ้น โดยตั้งชื่อตามสิ่งที่เป็นธรรมชาตินั้นๆ แล้วก็เกิดมีหัวหน้าเทพเจ้าขึ้น ดังที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท ซึ่งก็คือพระอินทร์ จากหลักฐานโบราณที่เป็นจารึกบนแผ่นดินเหนียวอายุราว 1,400 ปี ก่อนคริสตกาล เรียกว่าแผ่นจารึก โบกาซ คุย หรือจารึก เทเรีย ซึ่งขุดพบที่ตำบลดังกล่าว ของดินแดนแคปปาโดเซีย ในตุรกี จารึกนี้ ได้ออกนามเทพเจ้าเป็นพยานถึง 4 องค์ นั่นก็คือ พระอินทร์ (lndra) เทพเจ้าแห่งพลัง มิทระ (Mitra) พระวรุณ (Varuna)และ นาสัตย์ (Nasatya) คือ พระนาสัตย์อัศวิน (Asvins) นับเป็นชื่อเทพเจ้าที่เก่าที่สุดที่ถูกเอ่ยนาม แสดงว่าลัทธิพราหมณ์ มีมายาวนานยิ่งนัก สมัยของพระเวท จึงมีผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า มีมาก่อนพุทธกาลราว 1,000 ปีและบางตำราบอกว่า เทพเจ้าดั้งเดิมของพวกอริยกะนั้นมีพระอินทร์ พระสาวิตรี พระวรุณ และพระยม (พระสาวิตรี คือ ดวงอาทิตย์) ส่วนอีกตำราหนึ่งกล่าวว่า เทพเจ้าที่เก่าที่สุด คือ พระอินทร์ พระพฤหัสบดี พระวรุณ และพระยม เทพที่พราหมณ์ยกย่องนั้น มีเพียงไม่กี่องค์ที่ปรากฏอยู่ในพระเวท ซึ่งก็คือพระอินทร์ ที่ถือว่ามีฤทธิ์อำนาจมาก
วัฒนธรรมการทอผ้ามัดหมี่และผ้ายกของอินเดีย
ผ้าอินเดียแบบดั้งเดิม พิมพ์โดยใช้สีสด ซึ่งมีความเชื่อว่า สิ่งทอสีสดและหลากหลายสีเป็น เอกลักษณ์เดิมของชาวอินเดีย และนิยมผ้าทอจากกี่ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องใช้ต่าง ๆ ใน ชีวิตประจำวันและโอกาสพิเศษล้วนแต่ทอด้วยมือโดยใช้กี่ การทอผ้าด้วยมือของอินเดียจะมี ลักษณะแตกต่างกันในแต่ละรัฐ ซึ่งจะใช้ผ้าคลุมไหล่ของท้องถิ่นเพื่อแสดงถึงความแตกต่างของ เอกลักษณ์ในสังคมของตน ในวันสำคัญทางศาสนาต่าง ๆ จะมีวิธีการแต่งตัวและสีสันของเสื้อผ้า แตกต่างกัน โดยเฉพาะความยาวและวิธีการแต่งสาหรี่ ซึ่งเป็นชุดประจำชาติของผู้หญิงอินเดีย
- ผ้าคาดี เป็นผ้าฝ้ายดิบ เนื้อหยาบ เป็นศิลปหัตถกรรมอันเก่าแก่ มีความสำคัญทาง การเมืองด้วย
- ผ้าปาโตลา เป็นผ้ามัดหมี่ของรัฐกุจารัฐ ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของกรรมวิธีในการ ทอผ้ามัดหมี่ ผ้าสาหรี่ ปาโตลาได้รับการสงวนไว้ใช้ในชุดแต่งงานของเจ้าสาว มีลักษณะเป็นสีสด เช่น สีแดง สีเขียว และสีคราม ออกแบบด้วยรูปเรขาคณิต ดอกไม้ นกและสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้ง ศิลปะการร่ายรำ
- ผ้าเทเลีย รูมัล (telia rumal) เป็นผ้ามัดหมี่ใช้นุ่งพันท่อนล่างของร่างกายและบางครั้งใช้ โพกศีรษะ ปัจจุบันกำลังจะสูญหายไป รัฐบาลอินเดียและหน่วยงานต่าง ๆ พยายามร่วมมือกัน เพื่อจะ รื้อ ฟื้นกรรมวิธีและรูปแบบการทอผ้าชนิดนี้
- ผ้าจัมดานี (ผ้ามัสลิน) เป็นผ้าทอยกดอกที่มีรูปภาพและลวดลายที่งดงามที่สุดที่นิยม จะเป็นลายดอกไม้และใบไม้ แต่ที่สะดุดตาที่สุดของผ้าสาหรีจัมดานี คือลายโคเนีย เป็นลายดอก มะม่วงบนชายผ้า
- ผ้าสาหรี่ เป็นผ้าที่สวยงามและมีราคาแพงจะทอยกดิ้น ทองหรือเงิน ผ้าดอกจากเมือง พาราณสีในอินเดียทางเหนือ เป็นตัวอย่างสำคัญของการทอผ้าของอินเดีย ผ้าสาหรี่เป็นวิธีการ นุ่งผ้าเฉพาะผู้หญิง ความยาวของผ้าประมาณ 6 หลา มีสีสันและลวดลายต่าง ๆ การวางลายของ ผ้าสาหรี่มีกรองลายที่แน่นอน โดยรอบผืนผ้าทั้งสี่ด้าน มีการทำลายที่แตกต่างจากลายตรงกลาง ผืนผ้า ด้านที่เป็นชายผ้ามีการขยายลายให้เห็นชัดว่าเป็นชายผ้า
- ผ้าโรตี (Dhoti) เป็นวิธีการนุ่งผ้าทั้งชายและหญิงชาวอินเดีย
- ผ้าโรตีของผู้ชาย มีความยาว 6 หลา เป็นผ้าพันสีนวล หรือสีขาว
- ผ้าโรตีของผู้หญิง มีความยาว 9 หลา เป็นผ้าที่มีสีสันลวดลายต่าง ๆ
การนุ่งผ้าโรตี จะพับจีบด้านหน้าจากชายผ้าทั้งซ้ายและขวาและนำมาทบเหน็บทางด้าน ลำตัว แล้วจึงเอาผ้าที่เหลืออีกด้านไปเหน็บไว้ด้านหลัง ผู้ชายชาวอินเดียจะนุ่งโรตีทั่วไป แต่ผู้หญิงที่นุ่งโรตีมักจะอยู่ทางอินเดียใต้ ชายผ้าโรตีของ ผู้หญิงจะไม่เหน็บเก็บหมด แต่จะเหลือชายผ้าด้านหนึ่งไว้คลุมไหล่
การแต่งกาย
ชาวอินเดียโบราณ จะแต่งตัวคล้ายของไทยสมัยเชียงแสน ต่อมาสตรีนิยมสวมเสื้อแขนยาว แบบชาวจีน แต่ตัวสั้น เห็นหน้าท้อง นุ่งกางเกงขาลีบช้างใน ใช้ผ้าบาง ๆ เช่น ฝ้ายลินิน มัสลิน อย่างดีห่มอีกชิ้น ถ้าเป็นชาวพื้น เมืองจะนุ่งสาหรี่ หรือกระโปรงจีบดอกสีแดง หรือนุ่งกางเกงขาว ขายาว ส่วนชายนุ่งผ้าขาวใส่เสื้อแขนยาว ไว้หนวดเครา โพกผ้า
👳ด้านศาสนา
อินเดียเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกตะวันออก ได้แก่
อินเดียเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกตะวันออก ได้แก่
1. ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีเทพเจ้าที่สำคัญ เช่น พระศิวะ เป็นเทพผู้ทำลายความชั่วร้าย พระพรหม เป็นเทพเจ้าผู้สร้างสรรพสิ่งบนโลก พระวิษณุ เป็นเทพเจ้าแห่งสันติสุขและปราบปรามความยุ่งยาก เป็นต้น
มหาวีระ ศาสดาศาสนาเชน
คนในดินแดนลุ่มน้ำสินธุมีการทำอาชีพเกษตรเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและมีการทำการค้าภายใน การเพิ่มประชากรในแต่ละอาณาจักร ทำให้การค้าภายในเมืองต่างๆขยายตัวขึ้น ซึ่งมีสินค้าสำคัญ เช่น ดีบุก ทองแดง หินมีค่าชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีสินค้าอุตสาหกรรม เช่น การทอผ้า ฝ้าย ไหม เป็นสินค้าไปขายในดินแดนต่างๆ อาทิ อาระเบีย เปอร์เซีย และอิยิปต์ เป็นต้น
เมื่อชาวอารยันมีอำนาจมั่นคง จึงได้สร้างบ้านอยู่เป็นหมู่บ้าน มีการปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์พันธุ์ต่างๆมากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ชาวอารยันยังมีอาชีพเป็นช่างต่างๆ เช่น ช่างทองแดง ช่างเหล็ก ช่างปั้นหม้อ ช่างปะชุน เย็บผ้า เป็นต้น การที่ชาวอารยันดำเนินการค้าขายทั้งทางบกและทางทะเลอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีเศรษฐกิจดีพอที่จะสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์อารยธรรมในด้านอื่นๆ
👳ด้านภาษาและวรรณกรรม
ในดินแดนลุ่มน้ำสินธุยังพบวัฒนธรรมด้านภาษา คือ ตัวอักษรโบราณของอินเดีย ซึ่งเป็นอักษรดั้งเดิมที่ยังไม่มีนักวิชาการอ่านออก อักษรโบราณนี้ปรากฏในดวงตราต่างๆมากกว่า 1,200 ชิ้น โดยในดวงตราจะมีภาพวัว ควาย เสือ จระเข้ และช้าง ปรากฏอยู่ด้วย
พวกอารยันใช้ภาษาสันสกฤตซึ่งเป็นภาษาที่ใช้เขียนคัมภีร์ศาสนา เช่น คัมภีร์พระเวท เมื่อประมาณ 1,000 ปีมาแล้ว วรรณกรรมทื่สำคัญได้แก่ มหากาพย์มหาภารตยุทธ ซึ่งเป็นเรื่องการสู้รบในหมู่พวกอารยันและมหากาพย์รามเกียรติ์ เป็นเรื่องการสู้รบระหว่างพวกดราวิเดียนกับพวกอารยัน
👳มรดกของอารยธรรมอินเดีย
1. ด้านสถาปัตยกรรม
🌟 ซากเมืองฮารับปาและโมเฮนโจ – ดาโร ทำให้เห็นว่ามีการวางผังเมืองอย่างดี มีสาธารณูปโภคอำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น ถนน บ่อน้ำ ประปา ซึ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม
🌟 ซากพระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรและตักศิลา สถูปและเสาแปดเหลี่ยม ที่สำคัญคือ สถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ)
🌟 สุสานทัชมาฮาล สร้างด้วยหินอ่อน เป็นการผสมระหว่างศิลปะอินเดียและเปอร์เชีย
พระพุทธรูปแบบอมราวดี
ฯลฯ
3. จิตรกรรม
สมัยคุปตะ และหลังสมัยคุปตะ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอินเดียพบงานจิตรกรรมที่ ผนังถ้ำอชันตะ เป็น ภาพเขียนในพระพุทธศาสนาแสดงถึงชาดกต่างๆ ที่งดงามมาก ความสามารถในการวาดเส้นและการอาศัยเงามืดบริเวณขอบภาพ ทำให้ภาพแลดูเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกสมจริง
4. นาฏศิลป์
เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าตามคัมภีร์พระเวท
ศิวนาฏราช
👳การแพร่ขยายและการถ่ายทอดอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียแพร่ขยายออกไปสู่ภูมิภาคต่างๆทั่วทวีปเอเชียโดยผ่านทางการค้าศาสนาการเมืองการทหารและได้ผสมผสานเข้ากับอารยธรรมของแต่ละประเทศจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมสังคมนั้นๆ
ในเอเชียตะวันออกพระพุทธศาสนามหายานของอินเดียมีอิทธิพลอย่างลึกซึ่งค่อชาวจีนทั้งในฐานะศาสนาสำคัญและในฐานะที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะของจีน
ภูมิภาคเอเชียกลางอารยธรรมอินเดียที่ถ่ายทอคให้เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 เมื่อพวกมุสลิมอาหรับซึ่งมีอำนาจในตะวันออกกลางน้ำวิทยาการหลายอย่างของอินเดียไปใช้ ได้แก่ การแพทย์คณิตศาสตร์ดาราศาสตร์เป็นต้นขณะเดียวกันอินเดียก็รับอารยธรรมบางอย่างทั้งของเปอร์เซียและกรีกโดยเฉพาะด้านศิลปกรรมประติมากรรมเช่นพระพุทธรูปศิลปะคันธาระซึ่งเป็นอิทธิพลจากกีกส่วนอิทธิพลของเปอร์เซียปรากฏในรูปการปกครองสถาปัตยกรรมเช่นพระราชวังการเจาะภูเขาเป็นเพื่อสร้างศาสนสถาน
ภูมิภาคที่ปรากฏอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียมากที่สุดคือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พ่อค้าพราหมณ์และภิกษุสงฆ์ชาวอินเดียเดินทางมาและนอารยธรรมมาแยแพร่-อารยธรรมที่ปรากฏอยู่มีแทบทุกด้านโดยเฉพาะในด้านศาสนาความเชื่อการปกครองศาสนาพราหมณ์ฮินดูและพุทธได้หล่อหลอมจนกลายเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้
👳ลักษณะภูมิประเทศของอินเดียที่แบ่งอย่างคร่าวๆได้เป็นสามภาคคือ
1) เขตเทือกเขาหิมาลัยและบริเวณใกล้เคียงเทือกเขาหิมาลัยเป็นเทือกเขาใหญ่ที่สูงที่สุดในโลกและเป็นที่รู้จักกันดีเทือกเขานี้ยาวถึง 1, 500 ไมล์ติดกับเขตแผนของประเทศปที่สถานทางทิศตะวันออกติดกับประเทศทิเบตและแม่น้ำพรหมบุตรในอัสสัมมีช่องเขาที่ใช้เป็นเส้นทางคาราวานทำการค้าในสมัยโบราณเดินทางติดต่อระหว่างแคว้นปัญจาบในอินเดียกับมณฑลซินเที่ยงในจีนและพิเบต
2) เขตลุ่มแม่น้ำสายใหญ่ๆอินเดียมีแม่น้ำสายสำคัญทามภาคเหนืออยู่สามสายเรียจากตะวันตกไปหาตะวันออกคือแม่น้ำสินธุแม่น้ำคงคาและแม่น้ำพรหมบุตรแม่น้ำทั้งสามนี้รับน้ำที่ได้จากลมมรสุมมาปะทะเทือกเขาหิมาลัยและรับน้ำที่เป็นพิมะละลายในฤดูร้อนจากเทือกเขาที่ลัย ลุ่มแม่น้ำสินธและลุ่มแม่น้ำคงคาเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญของอินเดียมาตั้งแต่สมัยโบราเมสำหรับแม่น้ำสินธุนั้นชื่อของแม่น้ำสินธุได้กลายเป็นชื่อของประเทศอินเดียไปเลยทีเดียวดินแดนลุ่มแม่น้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งลุ่มแม่น้ำสินธและลุ่มแม่น้ำคงคาเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศและเป็นบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด
3) เขตที่ราบสูงทางตอนได้เขตที่ราบสูงทางตอนได้คือบริเวณที่เป็นคาบสมุทรของอินเดียมีเทือกเขาสามเทือกเป็นผนังกั้นทำให้ที่ราบนี้มีลักษณะเป็นที่ราบสูงบริเวณนี้ได้แก่แคว้นมัธยประเทศมัทราฐบอมเบย์ไฮเคราบัดไมซอร์และแคว้นเล็กน้อยอื่นๆบริเวณเขตที่ราบสูงทางตอนได้นี้มีชื่อเรียกว่าที่ราบสูงเกตน (The Deccan Plateau)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น