จักรวรรดิเปอร์เชีย (Persian Empire) คือจักรวรรดิและอาณาจักรต่างในประวัติศาสตร์ของเปอร์เชียที่ปกครองต่อเนื่องกันมาในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน หลังจากการโค่นจักรวรรดิอัสซีเรียด้วยความช่วยเหลือของบาบิโลเนีย
จักรวรรดิเปอร์เชียอคีเมนียะห์ (550–330 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และมารุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าดาไรอัสมหาราช และ พระเจ้าเซอร์ซีสมหาราช ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นศัตรูคนสำคัญองรัฐกรีกโบราณ บริเวณที่ตั้งเดิมอยู่ในบริเวณที่ในปัจจุบันรู้จักกันว่าจังหวัดพาร์ส (จังหวัดฟาร์ส) ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน
จักรวรรดิเปอร์เชียก่อตั้งภายใต้พระเจ้าไซรัสมหาราชผู้ทรงยึดจักรวรรดิจากชนมีดีส (Medes) และทรงขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกกลางที่รวมทั้งดินแดนของบาบิโลเนีย, อัสซีเรีย, ฟินิเซีย และ ลิเดีย หลังจากนั้นพระเจ้าแคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เชีย พระราชโอรสในพระเจ้าไซรัสก็ทรงดำเนินนโยบายการขยายดินแดนต่อไปยังอียิปต์ จักรวรรดิอคีเมนียะห์ มาสิ้นสุดลงระหว่างสงครามอเล็กซานเดอร์มหาราช แต่ก็มาฟื้นตัวอีกครั้งในรูปของจักรวรรดิพาร์เธียน และ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ แห่ง อิหร่าน เรียกรวมกันว่า “จักรวรรดิเปอร์เชีย” โดยนักประวัติศาสตร์ตะวันตก จักรวรรดิต่างๆ เหล่านี้เกือบทุกจักรวรรดิเป็นจักรวรรดิมหาอำนาจในบริเวณที่ปกครอง และบางจักรวรรดิก็เป็นมหาอำนาจของโลกในสมัยที่รุ่งเรือง
ศาสนาของชาวเปอร์เซีย
ศาสนาดั้งเดิมของชาวเปอร์เซีย เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์และกสิกรรมแบบเรียบง่าย แต่ต่อมาก็มีศาสนาใหม่ ศาสนาโซโรแอสเตอร์เกิดขึ้น ศาสนานี้พัฒนาขึ้นผลงานของชายผู้หนึ่งชื่อว่า ซาราธุสตรา (Zarathustra) หัวใจของศาสนาโซโรแอสเตอร์อยู่ที่หนังสือศักดิ์สิทธิ์หรือพระคัมภีร์
อารยธรรมของชาวเปอร์เซีย
อารยธรรมเปอร์เซีย อยู่ในช่วง 1,000 ปีก่อนคริสตศักราช หลังจากที่อาณาจักรแอสสิเรียได้เสื่อมลง ชาวเปอร์เซียซึ่งเป็นชนชาติอินโดยูโรเปียนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือ
ได้สร้างอาณาจักรอยู่ทางตอนเหนือเทือกเขาตะวันออก กษัตริย์ราชวงศ์อะเคเมเนียนของเปอร์เซียได้แผ่ขยายอำนาจเข้าปกครองดินแดน ต่างๆ ด้วยความบ้าคลั่ง แต่ในยุคนี้ได้มีพัฒนาการที่ทันสมัยมากขึ้น มีการผลิตเงินเหรียญขึ้นใช้ นอกจากนั้นยังได้มีการดัดแปลงตัวอักษรคูนิฟอร์มเป็นตัวอักษรของเปอร์เซีย จัด ระบบการปกครอง โดยแบ่งเป็นจังหวัด หรือมณฑล เรียกว่า แซแทรปปี (Satrapy) นอกจากในด้านเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรืองแล้ว ชาวเปอร์เซียยังได้สร้างถนนใช้คมนาคมและถือว่าเป็นถนนที่ดีที่สุดในยุค โบราณ และนอกจากนั้นยังมีไปรษณีย์ติดต่อสื่อสารทางราชการอีกด้วย
สถาปัตยกรรม - สถาปัตยกรรมของชาวเปอร์เซียได้รับอิทธิพลมาจากอียิปต์ และกรีก การก่อสร้างได้นำเอาวัสดุหลายชนิดมาใช้อย่างเหมาะสม เช่น ใช้หินเป็นพื้น ผนังใช้อิฐและนำเอาเสาไม้มาใช้ตกแต่ง ทำโครงเพดาน มีการตกแต่งหัวเสาและแกะเสาเป็นร่องคล้ายของกรีก
ประติมากรรม - งานประติมากรรมที่สำคัญของเปอร์เซีย คือ การแกะสลักหัวเสาเป็นรูปสัตว์ต่างๆ มีความสวยงามและประณีตนอกจากนั้นยังรู้จักนำทองแดงและโลหะต่างๆ มาประดับแต่งอย่างวิจิตรพิสดาร
ประติมากรรมที่นิยมคือแบบนูนต่ำโดยเฉพาะการแกะสลักฐานบันไดกำแพง หรือฝาผนัง เรื่องราวส่วนใหญ่เป็นภาพกษัตริย์ ขุนนาง และข้าทาสบริพารหรือพิธีกรรมต่างๆ ผลงานที่โดดเด่นมักจะเป็นผลงานประเภทประณีตศิลป์ ซึ่งจะนำสัตว์มาดัดแปลงประยุกต์เป็นสิ่งของเครื่องใช้
จิตรกรรม - ผลงานด้านจิตรกรรมของเปอร์เซียมีไม่มากนัก ส่วนมากจะเป็นการนำไปประยุกต์ ใช้กับการตกแต่งผนังภายในงานสถาปัตยกรรม รูปแบบจะมีลักษณะคล้ายกับแอสสิเรีย ศิลปกรรมเปอร์เซียเริ่มเสื่อมลงเมื่อพวกมุสลิมหรืออาหรับเข้ามามีอำนาจ ลักษณะงานศิลปะจึงได้เปลี่ยนแปลงไป
จักรวรรดิเปอร์เชีย (Persian Empire) คือจักรวรรดิและอาณาจักรต่างในประวัติศาสตร์ของเปอร์เชียที่ปกครองต่อเนื่องกันมาในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน หลังจากการโค่นจักรวรรดิอัสซีเรียด้วยความช่วยเหลือของบาบิโลเนีย
จักรวรรดิเปอร์เชียอคีเมนียะห์ (550–330 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และมารุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าดาไรอัสมหาราช และ พระเจ้าเซอร์ซีสมหาราช ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นศัตรูคนสำคัญองรัฐกรีกโบราณ บริเวณที่ตั้งเดิมอยู่ในบริเวณที่ในปัจจุบันรู้จักกันว่าจังหวัดพาร์ส (จังหวัดฟาร์ส) ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน
จักรวรรดิเปอร์เชียก่อตั้งภายใต้พระเจ้าไซรัสมหาราชผู้ทรงยึดจักรวรรดิจากชนมีดีส (Medes) และทรงขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกกลางที่รวมทั้งดินแดนของบาบิโลเนีย, อัสซีเรีย, ฟินิเซีย และ ลิเดีย หลังจากนั้นพระเจ้าแคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เชีย พระราชโอรสในพระเจ้าไซรัสก็ทรงดำเนินนโยบายการขยายดินแดนต่อไปยังอียิปต์ จักรวรรดิอคีเมนียะห์ มาสิ้นสุดลงระหว่างสงครามอเล็กซานเดอร์มหาราช แต่ก็มาฟื้นตัวอีกครั้งในรูปของจักรวรรดิพาร์เธียน และ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ แห่ง อิหร่าน เรียกรวมกันว่า “จักรวรรดิเปอร์เชีย” โดยนักประวัติศาสตร์ตะวันตก จักรวรรดิต่างๆ เหล่านี้เกือบทุกจักรวรรดิเป็นจักรวรรดิมหาอำนาจในบริเวณที่ปกครอง และบางจักรวรรดิก็เป็นมหาอำนาจของโลกในสมัยที่รุ่งเรือง
ศาสนาของชาวเปอร์เซีย
ศาสนาดั้งเดิมของชาวเปอร์เซีย เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์และกสิกรรมแบบเรียบง่าย แต่ต่อมาก็มีศาสนาใหม่ ศาสนาโซโรแอสเตอร์เกิดขึ้น ศาสนานี้พัฒนาขึ้นผลงานของชายผู้หนึ่งชื่อว่า ซาราธุสตรา (Zarathustra) หัวใจของศาสนาโซโรแอสเตอร์อยู่ที่หนังสือศักดิ์สิทธิ์หรือพระคัมภีร์
อารยธรรมของชาวเปอร์เซีย
อารยธรรมเปอร์เซีย อยู่ในช่วง 1,000 ปีก่อนคริสตศักราช หลังจากที่อาณาจักรแอสสิเรียได้เสื่อมลง ชาวเปอร์เซียซึ่งเป็นชนชาติอินโดยูโรเปียนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือ
ได้สร้างอาณาจักรอยู่ทางตอนเหนือเทือกเขาตะวันออก กษัตริย์ราชวงศ์อะเคเมเนียนของเปอร์เซียได้แผ่ขยายอำนาจเข้าปกครองดินแดน ต่างๆ ด้วยความบ้าคลั่ง แต่ในยุคนี้ได้มีพัฒนาการที่ทันสมัยมากขึ้น มีการผลิตเงินเหรียญขึ้นใช้ นอกจากนั้นยังได้มีการดัดแปลงตัวอักษรคูนิฟอร์มเป็นตัวอักษรของเปอร์เซีย จัด ระบบการปกครอง โดยแบ่งเป็นจังหวัด หรือมณฑล เรียกว่า แซแทรปปี (Satrapy) นอกจากในด้านเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรืองแล้ว ชาวเปอร์เซียยังได้สร้างถนนใช้คมนาคมและถือว่าเป็นถนนที่ดีที่สุดในยุค โบราณ และนอกจากนั้นยังมีไปรษณีย์ติดต่อสื่อสารทางราชการอีกด้วย
สถาปัตยกรรม - สถาปัตยกรรมของชาวเปอร์เซียได้รับอิทธิพลมาจากอียิปต์ และกรีก การก่อสร้างได้นำเอาวัสดุหลายชนิดมาใช้อย่างเหมาะสม เช่น ใช้หินเป็นพื้น ผนังใช้อิฐและนำเอาเสาไม้มาใช้ตกแต่ง ทำโครงเพดาน มีการตกแต่งหัวเสาและแกะเสาเป็นร่องคล้ายของกรีก
ประติมากรรม - งานประติมากรรมที่สำคัญของเปอร์เซีย คือ การแกะสลักหัวเสาเป็นรูปสัตว์ต่างๆ มีความสวยงามและประณีตนอกจากนั้นยังรู้จักนำทองแดงและโลหะต่างๆ มาประดับแต่งอย่างวิจิตรพิสดาร
ประติมากรรมที่นิยมคือแบบนูนต่ำโดยเฉพาะการแกะสลักฐานบันไดกำแพง หรือฝาผนัง เรื่องราวส่วนใหญ่เป็นภาพกษัตริย์ ขุนนาง และข้าทาสบริพารหรือพิธีกรรมต่างๆ ผลงานที่โดดเด่นมักจะเป็นผลงานประเภทประณีตศิลป์ ซึ่งจะนำสัตว์มาดัดแปลงประยุกต์เป็นสิ่งของเครื่องใช้
จิตรกรรม - ผลงานด้านจิตรกรรมของเปอร์เซียมีไม่มากนัก ส่วนมากจะเป็นการนำไปประยุกต์ ใช้กับการตกแต่งผนังภายในงานสถาปัตยกรรม รูปแบบจะมีลักษณะคล้ายกับแอสสิเรีย ศิลปกรรมเปอร์เซียเริ่มเสื่อมลงเมื่อพวกมุสลิมหรืออาหรับเข้ามามีอำนาจ ลักษณะงานศิลปะจึงได้เปลี่ยนแปลงไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น