Pink Bobblehead Bunny

อารยธรรมเอเชีย(อิสลาม)

ความก้าวหน้าที่ได้รับแรงดลใจมาจากอิทธิพลของศาสนาอิสลาม สร้างขึ้นโดยชาวมุสลิมเชื้อชาติต่าง ๆ แต่เนื่องจากศาสดามุฮัมมัดผู้ประกาศศาสนาเป็นชาวอาหรับ ดังนั้น กลุ่มอาหรับจึงมีบทบาทสำคัญในการให้กำเนิดอารยธรรมอิสลาม

          คาบสมุทรอาหรับในช่วงระยะที่อารยธรรมอิสลามถือกำเนิดเป็นดินแดน ซึ่งประชากรแบ่งแยกออกเป็น เผ่านักรบหลายเผ่า ต่างก็มีวิถีชีวิตที่อาจแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ พวกที่เร่ร่อนตามทะเลทรายซึ่งเรียกกันว่า พวกเบดูอิน ( Bedouins ) มีอาชีพเลี้ยงสัตว์ จึงต้องเดินทางเร่ร่อนเพื่อแสวงหาทุ่งหญ้าและบ่อน้ำ ทำให้ไม่สามารถหยุดตั้งหลักแหล่งได้ พวกเร่ร่อนบางกลุ่มทำการเกษตร จึงตั้งถิ่นฐานชั่วคราวตามบริเวรโอเอซิส(Oasis) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำในทะเลทราย การดำเนินชีวิตอีกแบบหนึ่งคือพวกตั้งหลักแหล่งในเมืองยึดการค้าเป็นอาชีพ ด้วยเหตุที่เมืองในคาบสมุทรอาหรับสมัยนั้นมักตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าและเป็นเมืองท่าที่จอดพักของกองคาราวาน ชาวเมืองเหล่านี้จึงแสวงหาผลประโยชน์จากการค้าจนมั่งคั่งร่ำรวย เช่น ชาวเมืองมักฮ์ (เมกกะ) เป็นต้น




แม้ว่าอารยธรรมอิสลามจะถือกำเนิดจากชนเผ่าที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในเมืองก็ตาม แต่อิทธิพลของวัฒนธรรมของชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทราย ก็ปรากฏเด่นชัดอยู่ในพัฒนาการของอารยธรรมอิสลาม ทั้งนี้ เพราะความผูกพันกันทางสายเลือดและขนบธรรมเนียมประเพณีของหมู่ชนทั้งสองพวก ด้วยเหตุที่วัฒนธรรมของชนเผ่าเร่ร่อนมีความสำคัญต่อพัฒนาการของอารยธรรมอิสลาม เนื่องจากความแห้งแล้งของทะเลทรายมีอิทธิพลต่อระบบความคิด สังคม ตลอดจนขยบธรรมเนียมประเพรีและวัฒนธรรมของชาวอาหรับ การอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นกิจกรรมในทะเลทรายตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ทำให้ชนเผ่าเร่รอนรักอิสรภาพและยากที่จะปกครองหรือบังคับบัญชา



 ชาวอาหรับรู้จักสร้างขนบธรรมเนียมประเพณีขึ้น และยึดถือราวกับเป็นกฎหมายของตน ขนบธรรมเนียมประเพณีเหล่านี้ ประกอบกับภาษาอาหรับซึ่งแต่ละเผ่าสามารถใช้และเข้าใจกันได้ นับเป็นรากฐานของวัฒนธรรม และความเป็นชาติหนึ่งชาติเดียวกันของชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับ ตัวอย่างขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่าเร่ร่อน เช่น การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในกระโจมเพื่อสะดวกแก่การอพยพ ครอบครัวหนึ่งจะอาศัยอยู่ในกระโจมหนึ่งหลาย ๆ ครอบครัวจะเดินทางเร่ร่อนไปด้วยกันเป็นกลุ่ม สมาชิกทุกคนของกลุ่ม ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือนับญาติกันได้ นับว่าอยู่ในสกุลเดียวกัน มีผู้อาวุโสของสกุลเป็นหัวหน้า สกุลต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือมีความปรารถนาจะรวมกัน ก็สามารถรวมกันเป็นเผ่า มีหัวหน้าเผ่าเป็นผู้ปกครอง ผู้ที่อยู่ในสกุลเดียวกันหรือสังกัดเผ่าใดเผ่าหนึ่ง ย่อมจะได้รับความพิทักษ์ปกป้องอันตรายด้วย

          

          ก่อนเกิดศาสนาอิสลาม ชาวอาหรับนับถือเทพเจ้าหลายองค์ แต่ละเผ่าจะมีเทพจ้าประจำเผ่า มีศาลเทพารักษ์ สำหรับเทพเจ้าของตน เพื่อให้สมาชิกเผ่าเดินทางมานมัสการประจำปี นอกจากเทพเจ้าประจำเผ่าแล้ว แต่ละเผ่าก็ยังนับถือเทพเจ้าอีกมากมายหลายองค์ รวมทั้งยังนับถือธรรมชาติแวดล้อม เช่น น้ำพุ ต้นไม้ และ หิน เป็นต้น เทพเจ้าบางองค์และปูชนียสถานบางแห่งอาจเป็นที่ที่ชมทุกเผ่าในอาหรับนับถือเหมือนกันหมดมิได้ เช่น หินดำทรงกลมใน ปูชนียสถาน กะฮ์บรอที่เมืองเมกกะ เป็นสถานที่ที่ชนเผ่านับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าหลายองค์และพากันเดินทางมานมัสการเป็นประจำปี ในบรรดาเทพจ้าทั้งหลาย ชนเผ่าต่าง ๆ ในอาหรับนับถือพระอัลลอฮ์ เป็นเทพเจ้าสูงสุด เพราะเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ในการทำพิธีบูชาเทพเจ้านั้น ชาวอาหรับมักใช้เลือดบูชายัญ เพราะเชื่อว่าเพื่อสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างเพทเจ้ากับเผ่าของตนโดยทั่วๆ ไป การปฏิบัติศาสนาก็ดูจะเป็นเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีของเผ่ามากกว่า จึงปรากฏอิทธิพลของอารยธรรมต่างๆ ในดินแดนอาหรับ โยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลของคริสต์ศาสนา และศาสนายิว ประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 
     



👶หลักธรรมที่สำคัญของศาสนาอิสลาม

หลักธรรมที่สำคัญของศาสนาอิสลาม ที่สำคัญได้แก่

1. หลักศรัทธา 6 ประการ คำว่าศรัทธาสำหรับชาวมุสลิม หมายถึง ความเชื่อมั่นด้วยจิตใจโดยปราศจากการระแวงสงสัยหรือการโต้แย้งใดๆ หลักศรัทธาในศาสนาอิสลามมี 6 ประการ คือ

          1) ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า ชาวมุสลิมต้องศรัทธาต่อพระอัลลอฮ์แต่เพียงพระองค์เดียว


                  2) ศรัทธาในบรรดามลาอีกะฮฺ ว่ามีจริง คำว่า “มลาอีกะฮฺ” หมายถึง ทูตสวรรค์หรือเทวทูตของพระเจ้า เป็นคนกลางระหว่างพระเจ้ากับศาสดา เป็นวิญญาณที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้


3) ศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอาน



          4) ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต ในคัมภีร์อัลกุรอานกล่าวถึงศาสนทูตว่ามีทั้งหมด 25 ท่าน ท่านแรก คือ นบีอาดัม และท่านสุดท้ายคือ นบีมุฮัมมัด


          5) ศรัทธาในวันพิพากษา มุสลิมต้องเชื่อว่าโลกนี้ไม่จีรัง ต้องมีวันแตกสลายหรือมีวันสิ้นโลก



          6) ศรัทธาในกฎสภาวะ (ลิขิต) ของพระเจ้า ชาวมุสลิมเชื่อว่าพระเจ้าได้ทรงกำหนดกฎอันแน่นอนไว้ 2 ประเภท คือ กฎที่ตายตัว เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทุกสิ่งเป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้า เช่น การถือกำเนิดชาติพันธุ์ รูปร่างหน้าตา ฯลฯ และกฎที่ไม่ตายตัว เป็นกฎที่ดำเนินไปตามเหตุผล เช่นทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ซึ่งพระเจ้าได้ประทานแนวทางชีวิตที่ดีงามพร้อมกับสติปัญญาของมนุษย์ ดังนั้นมุสลิมทุกคนต้องพยายามทำให้ดีที่สุด

2. หลักปฏิบัติ 5 ประการ หลักปฏิบัติ คือ พิธีกรรมเพื่อให้เข้าสู่ความเป็นมุสลิมโดยสมบูรณ์ ซึ่งชาวมุสลิมต้องปฏิบัติศาสนกิจพร้อมทั้ง 3 ทาง คือ กาย วาจา และใจ อันถือเป็นความภักดีตลอดชีวิต หลักปฏิบัติ 5 ประการ มีดังนี้


          1) การปฏิญาณตน ชาวมุสลิมทุกคนต้องปฏิญาณตนยอมรับความเป็นพระเจ้าองค์เดียวของพระอัลลอฮ์และยอมรับในความเป็นศาสนทูตของท่านนบีมุฮัมมัด


          2) การละหมาด การทำละหมาด หมายถึงการนมัสการพระเจ้าทั้งร่างกายและจิตใจวันละ 5 ครั้ง ได้แก่ เวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เวลากลางวัน เวลาบ่าย เวลาพลบค่ำ และเวลากลางคืน การทำละหมาดเริ่มเมื่ออายุได้ 10 ขวบ จนถึงขั้นสิ้นชีวิต ยกเว้นหญิงขณะมีรอบเดือน


          3) การถือศีลอด คือการละเว้น ยับยั้งและควบคุมตน โดยงดการบริโภคอาหาร น้ำดื่ม และร่วมประเวณี ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกดินเป็นเวลา 1 เดือน ในเดือนรอมฎอน (เดือน 9 ทางจันทรคติของอิสลาม) การถือศีลอดเป็นหน้าที่ของชาวมุสลิมทุกคนที่อายุครบ 15 ปี เป็นต้นไป แต่ผ่อนผันในกรณีหญิงขณะมีรอบเดือนและหลังคลอด บุคคลในระหว่างเดินทาง หญิงมีครรภ์ แม่ลูกอ่อน บุคคลที่มีสุขภาพไม่ปกติ มีโรคภัย คนชรา และบุคคลที่ทำงานหนัก


          4) การบริจาคซะกาต หมายถึง การบริจาคทรัพย์เพื่อขัดเกลาจิตใจของผู้บริจาคให้สะอาดบริสุทธิ์ลดความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ให้มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่


          5) การประกอบพิธีฮัจญ์ หมายถึง การเดินทางไปประกอบศาสนกิจหรือจาริกแสวงบุญ ณ วิหารอัลกะฮ์ และสถานที่ต่างๆ ในนครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยให้ปฏิบัติเฉพาะบุคคลที่มีความสามารถเท่านั้น

👶การเผยแพร่และ่ายทอดอารยธรรมอิสลาม

          อิสลามนับได้ว่าเป็นศาสนาที่สร้างอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียมากที่สุดที่เราสามารถกล่าวได้อย่างนี้ก็เพราะว่าหากเราย้อนหลังไปพันปีกว่าซึ่งเป็นยุคที่อาณาจักรอิสลามกำลังเฟื้องฟูมีราชวงศ์ต่างๆขึ้นมาปกครองหลายราชวงศ์ ตั้งแต่รับอิสลามแห่งแรกที่นครมาดีนะห์ในสมัยของท่านนบีมูฮำหมัด, สมัยคูลาฟาอฺ-อัรรอซีดูนของคอลีฟะห์ทั้ง 4 , สมัยของการปกครองของราชวงค์อูมัยยะห์ที่ดามัสกัส(ซีเรีย ค.ศ 661- ค.ศ.750) , ยุคการปกครองของราชวงค์อับบาซียะห์ที่แบกแดด(อีรัก ค.ศ 750-1258), ยุคการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะห์แห่งอันดะลุส(สเปน ค.ศ 712-ค.ศ 1236) และมาปิดท้ายที่ราชวงศ์อุสมานียะห์(ออตโตมาน)ที่ตุรกีที่เพิ่งล่มสลายไปเมื่อไม่ถึงร้อยปีที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งเมืองต่างๆที่ได้เคยเป็นจุดศูนย์กลางของการปกครองที่ได้กล่าวมานั้นก็ล้วนเป็นจุดศูนย์กลางของอารยธรรมอิสลามไปในตัวโดยอัตโนมัติด้วย


ในภาพคือพิธีการต้อนรับทูตในกรุงดามัสกัสของอาณาจักรอุมัยยะห์แห่งซีเรีย การเผยแพร่ศาสนา อารยธรรม และศิลปะวิทยาการต่างๆของอิสลามได้รับการเผยแพร่ทางการทูตและการค้าที่มีต่อรัฐหรืออาณาจักรอื่นๆในทวีปเอเชีย

          จากผลพวงของการปกครองที่หลากหลายบวกกับระยะเวลาการปกครองอันยาวนานหลายร้อยปีของแต่ละราชวงศ์ แน่นอนว่าแต่ละราชวงค์มีเวลามากพอในการสร้างอารยธรรมขึ้นมามากมายในสมัยการปกครองของตัวเองไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของศาสนา สังคม ระบบการปกครอง ภาษา การศึกษา การเกษตรกรรม วิทยาศาสตร์ การแพทย์ งานแปลตำรำวรรณกรรม ตรรกวิทยา ดาราศาสตร์ เป็นต้น โดนเฉพาะด้านสถาปัตกรรม วิศวะกรรมศาสตร์และศิลปกรรมต่างๆที่เห็นว่าหน้าจะเป็นการพัฒนาที่รวดเร็วและเด่นที่สุดในบรรดาศาสตร์ทั้งหลายของโลกในยุคนั้นซึ่งยังคงหลงเหลือร่องรอยให้เห็นกันจนถึงทุกวันนี้ โดยที่อารยธรรมดังกล่าวได้แทรกซึมและเผยแพร่ไปยังดินแดนต่างๆของทวีปเอเชียทั้งในแถบชมพูทวีป(เอเชียใต้)จีน เอเชียกลาง มองโกล และอาเซียน อย่างรวดเร็วตามพัฒนาการติดต่อทางการทูตระหว่างรัฐ ความเจริญก้าวหน้าด้านการค้า และการเผยแพร่ศาสนา โดยเฉพาะการเผยแพร่ตามเส้นทางสายไหม(Silk Road) ที่ถือเป็นเส้นเลือดสำคัญของการติดต่อสื่อสารระหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตกนับตั้งแต่อาณาจักรไบเซนไตน์จนถึงกรุงปักกิ่งของจักรวรรดิจีนโดยมีเส้นทางพาดผ่านอาณาจักรอิสลามยุคก่อนอย่างเมืองแบกแดดของอับบาซียะห์และดามัสกัสแห่งอุมัยยะห์แห่งซีเรีย เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้แพร่ขยายผ่านทางการบุกเบิกแผ่ขยายอาณาจักรและการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานไปตั้งรกรากอยู่ในดินแดนอื่นๆของชาวอาหรับอีกด้วย



อารยธรรมโลก ตอน อารยธรรมอิสลาม




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น